
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 15 มีนา คม 2566 วัดเถาวัลย์ ม.11 ต.บ้านป่าหม้อ ต.พระยืน อ.พระยืน จ.ขอนแก่น นายสมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น จัดแผนลงพื้นที่โครงการสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและด้านการจัดการหนี้ของเกษตร กรติดตาม เร่งรัด ประชาสัมพันธ์ การรายงานตัวของเกษตรกร การ นำเกษตรกรเข้าสู่การปรับโครง สร้างหนี้กับสถาบันเจ้าหนี้ และการเตรียมเกษตรกรเข้าสู่กระ บวนการ ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร กร หลังปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสำนักงานสาขาจังหวัด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนา คม 2565 ระหว่างเดือน กุมภา พันธ์ – กันยายน พ.ศ. 2566 โดยมี
นายรังสิต ชูลิขิต อนุกรรมการ (ประธานโซน) ,นายประดิษฐ์ สิงสง รองประธานอนุกรรมการฯ, นายชูไทย วงศ์บุญมี, น.ส.ศศิธร นครไธสง ลูกจ้างโครงการเร่งรัดฯ,น.ส.สิริญญา ด่านซ้าย ลูก จ้างโครงการเร่งรัดฯ ผู้แทนสำนัก งานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น อนุ กรรมการ, ผู้แทนสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น อนุ กรรมการที่รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ต.พระยืน กลุ่มเป้าหมาย
โดยในช่วงบ่าย เวลา 13.30 – 16.30 น.ลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและด้านการจัดการหนี้ของเกษตรกรติดตาม เร่งรัด ประชาสัมพันธ์ การรายงานตัวของเกษตรกร การนำเกษตรกรเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันเจ้าหนี้ และการเตรียมเกษตรกรเข้าสู่กระบวนการ ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ศาลากลางบ้านโนนฆ้อง ม.10 บ.โนนฆ้อง ต.โนนฆ้อง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น
นางบุญสา รถน้อย อายุ58 ปี อาชีพเกษตรกร อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 16 หมู่ 6 ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น (ท่าพระ)เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ประมาณ วันที่ 6 เมษายนปี พ.ศ. 2564 ไปสมัครสมาชิกกับพ่อขุนพล ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เดิมทีจะไปสมัครที่จังหวัดชัยภูมิเพราะว่าเป็นหนี้เป็นสินเยอะแต่เพื่อนแนะนำให้ไปสมัครที่จังหวัดขอนแก่นเพราะเป็นคนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อยากรู้ว่าวันเวลาปี ที่ทางกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นจะช่วยปรับโครงสร้างหนี้สินตอนไหน เพราะกลัวว่าธนาคารจะยึดทรัพย์ขายทรัพย์สินทอดตลาด ด้วยเหตุว่าถูกธนาคารฟ้องยึดทรัพย์แพ้ไปแล้ว ดังนั้นในวันนี้จึงเข้ามารับฟังแผนฟื้นฟูและประชาสัมพันธ์ในเรื่องดังกล่าว จะได้ตั้งตัวตั้งตนได้ถูกเพราะไม่มีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวนี้เท่าไหร่ นับว่าเป็นเรื่องดีที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษต รกรจังหวัดขอนแก่นได้ลงพื้นที่ในครั้งนี้ทำให้ได้มีโอกาส ที่ดีที่จะได้ใช้หนี้ตามมาตรการของรัฐบาลครึ่งต่อครึ่ง ไม่มีดอกเบี้ย 15 ปี จะได้ต่อชีวิตยืดลมหายใจออกไปอีก
นายรังสิต ชูลิขิต อนุกรรมการ (ประธานโซน) อดีตหัวหน้าสำนัก งานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าในการลงพื้นที่พบเกษตร กรสมาชิกกองทุนฟื้นฟู ที่ได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 หลักๆคือต้องเป็นสมาชิกของฟื้นฟู ที่มีรายชื่อได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ของธนาคารรัฐ 4 แห่งคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.),ธนาคารอาคาร สงเคราะห์,ธนาคารออมสิน และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ ไทย(SME Bank) หลักเกณฑ์ก็คือตัดดอกลดต้นเหลือ 50% เกษตร กรสมาชิก จะรับผิดชอบแค่ 50% ของต้นเงิน ส่วนต้นเงิน 50% กับดอกเบี้ย ที่เกิดขึ้นที่เหลือ ก็คือเป็นหน้าที่ของธนาคาร ที่จะไปเรียกเก็บกับทางรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯรับผิดชอบ 50% ส่วนนี้นั้นคือมีภาระหนี้ระยะเวลาการการส่งก็คือ 15 ปีๆละ 1 ครั้ง จะชำระก่อนให้เสร็จสิ้นก่อน 15 ปีก็ได้ ต่อคำถามที่ว่ามีอะไรที่จะฝากไปยังเกษตร กรที่ไม่ทราบข่าวนี้หรือพอทราบข่าวแล้วเขาจะได้มาร่วมปรับโครง สร้างโครงการนี้
นายรังสิต กล่าวขยายความอีกว่ากับการเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯและขึ้นทะเบียนหนี้กับกองฟื้นฟูฯไว้นี้ เป็นข้อดี มากที่สุด ก็คือที่ผมประทับใจนั่นคือลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดี และถูกยึดทรัพย์ประกาศขายทอดตลาด โดยสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯมาขอให้กองฟื้นฟูฯไปชะลอการขายทอดตลาด ที่สำนักงานบังคับคดีได้ นี้เป็นส่วนดีที่ช่วยเหลือให้เกษตรกร ที่เป็นสมาชิกกองทุนฯกู้ ไม่ถูกนายทุนเข้าไปซื้อทรัพย์จากการบังคับคดีขายทอดตลาด นับเป็นข้อดีข้อหนึ่งที่ตนว่าเป็นข้อดีมากสำหรับสมาชิกของ กองทุนฟื้นฟู ที่ไม่มีเงินที่จะไปชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงิน ที่ถูกบังคับคดี ขายทอดตลาด ทำ ให้ได้รับโอกาสชะลอการถ่าย ทอดตลาด เสร็จจากนั้นก็จะนำไปสู่การซื้อทรัพย์โดยกองทุนฟื้นฟูฯจะไปซื้อทรัพย์ที่สำนักงานบังคับคดี มาให้มาไว้ให้กับสมาชิก เพื่อมาทำสัญญาเป็นการเช่า-ซื้อ ทรัพย์คืนจากกองทุนฯที่อยู่ได้นะและไม่มีดอกเบี้ยปลอดๆดอกเบี้ยด้วยเป็นเรื่องเป็นสิ่งที่ดีมาก
“สมาชิกท่านใดที่ต้องมีความประ สงค์จะเข้าร่วมโครงการนี้ ให้ติด ต่อไปที่กองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอน แก่น ในวันและเวลาราชการ หรือติดต่อสอบถามมายังที่เบอร์ของตนเอง062-5924998 ได้ทุกเวลา.
ภัสสะ บุญธรรม /ขอนแก่น
Discussion about this post