
นายอำเภอสองพี่น้อง จับมือ ธ.ก.ส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดโครงการลดการเผาอ้อยลดฝุ่นละออง PM2.5 สนับสนุนการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลผลิต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไพทูรย์ วงศ์วีรกูล นายอำเภอสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี นายธนวัน ตันติเกษตรกิจ นายก อบต.บ่อสุพรรณ นายอำพล จงสมบูรณ์โภคา กำนัน ต.บ่อสุพรรณ นายธีระโชติ รุ่งรัตน์วัฒนเสรี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 13 ต.บ่อสุพรรณ นางศิริรัตน์ สกุลวงศ์ไพบูลย์ เหรัญญิกตลาดบ้านดอนศาลเจ้า นายณรงค์ชัย สาลีผล ที่ปรึกษาตลาดบ้านดอนศาลเจ้า นำกลุ่มสมาชิกเกษตรอินทรีย์ให้การต้อนรับ นายยุวพล วัตถุ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส. นายผลึก อาจหาญ ผอ.ฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชุมชน นายสามารถ เอี่ยมวงษ์ รอง.ผอ.ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก จ่าอากาศเอก สุพร บุญสิริชูโต ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.สุพรรณบุรี นายพัลลภ แสงไกร ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาสองพี่น้อง นางพิศมัย สามบุญเรือง ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาทุ่งคอก นายพัลลภ อ่อนศรี พนักงานพัฒนาลูกค้า สำนักงาน ธ.ก.ส.สุพรรณบุรี นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานกลุ่มสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 นายพนม ตะโกเมือง อุปนายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 ในการลงพื้นที่ติดตามผลการลดการเผาวัสดุการเกษตรในพื้นที่ปลูกอ้อย ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อลดฝุ่นละออง PM 2.5 ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านดอนศาลเจ้า หมู่ 13 9.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
ต่อมา นายไพทูรย์ วงศ์วีรกูล นายอำเภอสองพี่น้อง ได้ร่วมกับ นายยุวพล วัตถุ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส. พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ธ.ก.ส.จากสำนักงานใหญ่ ร่วมกับภาคีเครือข่ายโครงการลดการเผาอ้อย ประกอบด้วย สมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อย เขต 7 ศูนย์ประสานงานกลุ่มโรงงานน้ำตาลลุ่มแม่น้ำแม่กลอง 9 โรงงาน และโรงงานน้ำตาลนิวกรุงไทย สมาคมส่งเสริมอาชีพการเกษตรสุพรรณบุรี โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลสุพรรณบุรี โรงงานน้ำตาลมิตรผล และโรงงานน้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล (อู่ทอง) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 8 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 ร่วมกันเปิดศูนย์เรียนรู้อ้อยปลอดเผาชุมชนบ้านดอนศาลเจ้า ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านดอนศาลเจ้า ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
นายไพทูรย์ วงศ์วีรกูล นายอำเภอสองพี่น้อง กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้อ้อยปลอดเผา บ้านดอนศาลเจ้า แห่งนี้เป็นศูนย์ในการจัดการองค์ความรู้ การลดการเผา สร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยในการผลิตอ้อยคุณภาพ การบริหารจัดการใบอ้อยที่อยู่ในแปลงหลังเก็บเกี่ยว โดยเปลี่ยน Waste เป็น Value สามารถใช้ใบอ้อยมาทำปุ๋ยหมัก โดยการใช้โดรนฉีดพ่นจุลินทรีย์เบญจคุณในการย่อยสลาย และนำมาใช้เป็นวัสดุคลุมดินแทนฟางข้าวในเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรในการลดการเผา นั้นคือผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับทั้งทางตรง และทางอ้อม รวมทั้งใช้เป็นแหล่งในการคิดค้น วิจัย สร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากใบอ้อย และการผลิตอ้อยคุณภาพ อีกทั้งปลูกฝังให้เกษตรกรตระหนักรู้ ในการบริหารจัดสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการประกอบอาชีพ ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านดอนศาลเจ้า
นายยุวพล วัตถุ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส. กล่าวว่า
โครงการลดการเผาวัสดุการเกษตร ข้าว อ้อย เพื่อลดฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นโครงการที่ ธ.ก.ส. ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่าย มาตั้งแต่ปีการผลิต 2564 ต่อเนื่องถึงปี 2565 โดยปี 2564 มีพื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด คือ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เป้าหมาย 319,627 ไร่ หรือ 20% ของพื้นที่การผลิตอ้อย 3 จังหวัด โดยมีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ 410,000 ไร่ ในปี 2565 ขยายพื้นที่เป้าหมายเป็น 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เป้าหมาย 338,000 ไร่ สรุปยอดโดยเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ 372,611 ไร่

ในการขับเคลื่อนโครงการใช้วิธีการจัดเวที ร่วมกับเครือข่ายสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย รวมทั้งจัดการความรู้ในการผลิตอ้อยคุณภาพ และการบริหารจัดการใบอ้อยที่อยู่ในแปลงหลังเก็บเกี่ยวในการเปลี่ยน Waste เป็น Value ซึ่งปัจจุบันสามารถใช้ใบอ้อยมาทำปุ้ยหมักโดยใช้จุลินทรีย์เบญจคุณในการย่อยสลาย ใช้เป็นวัสดุคลุมดินแทนฟางข้าวในการเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งหากประสบความสำเร็จ จะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน ตามนโยบายส่งเสริมการควบคุมดูแลภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของทุกประเทศในขณะนี้ ซึ่งเป็น 1 ในโครงการของ ธ.ก.ส. จะเห็นว่า ทุกวันนี้สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก โดยเฉพาะที่เกิดจากกลุ่มเกษตรกรในการเผาอ้อย วันนี้จึงได้มารณรงค์พี่น้องชาวเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นชาวไร่อ้อย หรือชาวนาร่วมด้วยช่วยกันไม่เผาซางข้าว อ้อย หรือพืชผลเกษตรอย่างอื่น ธ.ก.ส. คาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการขยายผลไปสู่การตระหนักรู้ของสังคม ในการบริหารจัดสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการประกอบอาชีพของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ต่อไป
นางศิริรัตน์ สกุลวงศ์ไพบูลย์ ประธานศูนย์เรียนรู้ลดการเผา กล่าวว่า ตนเองทำไร่อ้อยมา 10 กว่าปี เมื่อก่อนก็เผาซางอ้อยตลอด เพราะไม่เปลืองแรงงาน ผลผลิตได้ไม่ค่อยมาก ในส่วนของการใช้น้ำก็จะเยอะขึ้น ต้นทุนแพงขึ้น ตอนนี้หันมาใช้การไถกลบแทน ถ้าเรามีใบอ้อยเราก็จะใช้น้ำน้อยลง หญ้าจะขึ้นน้อยลง เป็นการลดต้นทุนไปในตัว ได้ผลผลิตมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ยืนยันว่าถ้าเราไม่เผาใบอ้อยจะทำให้ผลผลิตดีขึ้น หรือการปลูกผักให้หันมาใช้ใบอ้อยเป็นปุ๋ยหมัก และคลุมดินแทนฟางข้าวจะได้นานกว่าฟางข้าว ลดแรงงานได้ไม่ต้องไปถอนกล้าข้าวเล็กๆ ที่ติดมากับฟางซึ่งถ้าเป็นใช้เป็นใบอ้อยแทนจะไม่มี
จากการที่ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดโครงการลดการเผาอ้อย ลดฝุ่นละออง PM2.5 พลิกทุ่ง สร้างทุน ฟื้นไท เปิดศูนย์เรียนรู้อ้อยปลอดเผา บ้านดอนศาลเจ้า ต.บ่อสุพรรณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ เพื่อจัดการองค์ความรู้การลดการเผาอ้อย ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น ธ.ก.ส. ยังได้ดำเนินการ มุ่งเน้นนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตให้เหมาะสม ในแต่ละสภาพพื้นที่เพาะปลูกอ้อย เช่น การสนับสนุนให้ชาวไร่อ้อยปรับพื้นที่รองรับรถตัดอ้อย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวอ้อย และการเผาอ้อย การส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อยที่มีความพร้อมได้จัดซื้อเครื่องอัดใบอ้อย (Square Balers) เพื่อส่งขายให้กับโรงงานน้ำตาลในพื้นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริมในกระบวนการผลิตน้ำตาล และผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ รวมถึง ธ.ก.ส. ให้การสนับสนุนชาวไร่อ้อยด้วยสินเชื่อพิเศษในแต่ละขนาดพื้นที่ (Farm Size) เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพ การทำไร่อ้อยได้อย่างยั่งยืน โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริหารจัดการไร่อ้อยที่ทันสมัย (Smart Farming) มาปรับใช้เพื่อให้เกิดผลตอบแทนคุ้มค่ามากขึ้น
/////////////////ทีมข่าวทอล์คนิวส์ออนไลน์ /// ภาพ-ข่าว//////////////////
Discussion about this post