
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 16 มี.ค.66 ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเขาชะเมา จ.ระยอง พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี เดินทางไปเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์แก่เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) พร้อมให้โอวาท และให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน พร้อมบรร ยายพิเศษเรื่อง “การดำเนินงานของมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์”ซึ่งวัตถุประสงค์การดำเนินงานของมูลนิธิฯ เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนหาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการแก้ไขปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า รวมทั้งอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชา ชนในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก มีนายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผวจ.ระยอง นายอรรถพล เจริญชันษา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และนายก้องเกียรติ เต็มตำนาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 ร่วมการประชุมฯ ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว มุ่งเพิ่มศักย ภาพเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังช้างป่า รวมถึงเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อมาในเวลา 14.00 น.วันเดียวกันนี้ ที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเขาชะเมา นายอรรถพล เจริญชันษา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เป็นประธานมอบเงินอุดหนุนเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าและสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ จำนวน 10 เครือข่ายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา- เขาวง จำนวน 50,000 บาท พร้อมกับปล่อยตัวเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังช้างป่า เพื่อผลักดันช้างป่าและต้อนคืนสู่ป่าอนุรักษ์ และแจ้งเตือนเหตุแก่ประชาชนพื้นที่ที่ช้างป่าจะเคลื่อนผ่าน ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน

นายอรรถพล เจริญชันษา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กรมอุทยานฯ ในปี 2566 ได้รับงบประ มาณมาเพื่อจัดชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังช้างป่าเพิ่มขึ้น จำนวน 75 นาย จากเดิม 15 ชุดๆ ละ 3 นาย เพิ่มขึ้นเป็นชุดละ 8 นาย รวม 45 นาย ปัจจุบันทำให้มีชุดเคลื่อนที่เร็วทั้งสิ้น 120 นาย โดยทำหน้าที่ติดตามเฝ้าระวัง ผลักดันช้างป่าที่ออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์และต้อนกลับคืนสู่ป่าอนุรักษ์ แจ้งเตือนเหตุแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ช้างป่าจะเคลื่อนผ่านและที่ได้รับผลกระทบ เพื่อป้องกันอันตราย ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินและปฏิบัติการกู้ภัยให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบเหตุช้างป่าทั้งในและนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในอนาคตก็จะมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นติดตามช้างป่า รวมทั้งมีโดรนจับภาพด้วยความร้อนในเวลากลางคืนด้วย เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังช้างให้ประชาชน และชุดเฝ้าระวังช้างป่าด้วย ซึ่งการปฏิบัติการดังกล่าว จะเป็นพื้นที่นำร่องในพื้นที่ป่าอีก 16 แห่งต่อไป.
Discussion about this post