วันที่ 21 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์บริ
หารการทะเบียน ภาค 5 สาขาเชียงใหม่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง และเทศบาลนครเชียงใหม่ ทำบัตรประชาชนแก่ผู้ต้องขังหญิง ภายในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ โดยนำอุปกรณ์เครื่องมืองานทะเบียน เข้าไปทำบัตรประชาชนภายในเรือนจำดังกล่าว ซึ่งเป็นผู้ต้องขังหญิงจำนวน 267 คน แบ่งเป็นกรณีบัตรหาย 205 คน บัตรหมดอายุ 55 คน บัตรชำรุด 7 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องขังใกล้พ้นโทษ สร้างความดีใจให้กับผู้ต้องขังที่
ได้บัตรประชาชนใบใหม่
นางอาจารี ศรีสุนาครัว ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ เผยว่า ผู้ต้องขังดังกล่าว แม้อยู่ในทัณฑสถาน แต่บัตรประชาชนยังมีความสำคัญต่อผู้ต้องขัง เพื่อใช้เป็นหลักฐาน ยืนยันตัวบุคคล และติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระหว่างที่ต้องโทษ และภายหลังพ้นโทษ นอกจากนี้ยังใช้เพื่อรับสิทธิขั้นพื้นฐานตามสวัสดิการแห่งรัฐที่พึงได้ เช่น สิทธิการรักษาพยาบาล สงเคราะห์ผู้พิการ และเมื่อพ้นโทษไปแล้ว สามารถนำบัตรประชาชน เพื่อแสดงตน ในการสมัครงาน พร้อมเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเป็นประโยชน์ด้านข้อมูลทางทะเบียน ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามพฤติกรรมป้องกันการกระทำผิดซ้ำ พร้อมส่งเสริมให้กำลังใจ และสร้างโอกาสในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขในสังคม
นายบุญญฤทธิ์ นิปวณิชย์ หัวหน้าศูนย์บริหารการทะเบียนภาค 5 สาขาเชียงใหม่ เผยว่า นอกจากใช้รับสิทธิ สวัสดิการของรัฐแล้วบัตรประชาชน ยังมีความสำคัญต่อการเลือกตั้งภายหลังรัฐบาลประกาศยุบสภาแล้ว เบื้องต้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดเลือกตั้ง วันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ซึ่งผู้ที่ใกล้พ้นโทษ จะได้นำไปใช้แสดงตัวตน เพื่อใช้
สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งดังกล่าว หากปรากฏ
มีรายชื่อผู้ต้องขังในบัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ ตามขั้นตอนกฎหมายของ กกต. ซึ่งผู้ต้องขัง
ที่พ้นโทษแล้ว สามารถใช้สิทธิตามพลเมืองไทยได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อส่งเสริมการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วย
////////
Discussion about this post