สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (วันที่ 21 มี.ค. 2566) การดําเนินการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ประสานงาน เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137
- สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจในการเฝ้าระวังและ ตอบสนองกรณีวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในพื้นที่เกิดเหตุ ณ จังหวัดปราจีนบุรี
การตรวจสอบและการตรวจวัดระดับปริมาณรังสีในพื้นที่โรงงานหลอมโลหะที่ เกิดเหตุ ได้ข้อสรุปดังนี้ - เจ้าหน้าที่ ปส. ได้ตรวจสอบเตาหลอมเหล็กและระบบการจัดการฝุ่นเหล็กมีผล การตรวจสอบดังนี้
1) พบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในเตาหลอมโลหะจํานวน 1 เตา จากเตาหลอมทั้งหมด 3 เตา ซึ่งผลการตรวจสอบพบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ในระดับต่ำ (ระดับรังสี 0.07- 0.10 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง) ในขณะที่ เตาหลอมโลหะหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ไม่พบการปนเปื้อนของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137
2) ไม่พบการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในชิ้นส่วนอุปกรณ์ ถ่ายเทน้ำเหล็ก (ระดับรังสี 0.03-0.05 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง)
3) พบการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในระบบการดูดฝุ่น (Dust Filter) และระบบกรองฝุ่น (อัตราปริมาณรังสีเท่ากับ 1.2-1.7 ไมโครซีเวิร์ตต่อ ชั่วโมง) และมีฝุ่นจํานวนหนึ่งที่อยู่ในระบบกรองฝุ่นโลหะปนเปื้อนซีเซียม-137 จาก การหลอมโลหะเมื่อวันที่18-19มีนาคม2566ซึ่งขณะนี้รอให้ฝุ่นปนเปื้อนดังกลา่ว เย็นลงและเตรียมบรรจุลงในถุงขนาดใหญ่ จากนั้นจะนําไปจัดเก็บในอาคารเก็บ ฝุ่นแดงปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 รวมกับ 24 ถึงที่ตรวจสอบพบ การปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ก่อนหน้านี้
- เจ้าหน้าที่ ปส. ได้ทําการตรวจวัดระดับปริมาณรังสีโดยใช้เครื่องสํารวจและระบุ ชนิดสารกัมมันตรังสีบริเวณหน้าดินในพื้นที่โรงงานพบว่าระดับ ปริมาณรังสีอยู่ใน ระดับเท่ากับระดับปริมาณรังสีในธรรมชาติ (0.03 – 0.05 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง)
การตรวจวัดปริมาณรังสีรอบในสิ่งแวดล้อม มีการดําเนินการดังนี้ - ตรวจวัดระดับปริมาณรังสีโดยใช้เครื่องมือวัดทางรังสีและติดตั้งในรถยนต์ โดย ตรวจวัดระดับปริมาณรังสีในพื้นที่โรงงานที่เกิดเหตุ ผลการตรวจสอบพบว่า ระดับ รังสีที่ตรวจวัดได้
อยู่ในระดับรังสีในธรรมชาติ - ตรวจวัดระดับปริมาณรังสีโดยใช้เครื่องมือวัดทางรังสีและติดตั้งในรถยนต์
โดยรอบพื้นที่โรงงานที่เกิดเหตุ ผลการตรวจสอบพบว่าระดับรังสีที่ตรวจวัดได้อยู่ในระดับรังสีในธรรมชาติ
3.ตรวจวัดปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รอบบริเวณโรงงาน ในรัศมีระยะทาง ประมาณ 3 กม. ในพื้นที่ 4 จุดใหญ่ ดังนี้
3.1 พื้นที่บริเวณหมู่บ้านโคกกระท้อน ม.10 ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
3.2 พื้นที่บริเวณหมู่บ้านซ่ง ม.3 ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
3.3 พื้นที่บริเวณบ้านหาดสูง ม.2 ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
3.4 พื้นที่บริเวณ อบต.หาดนางแก้ว ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
การตรวจวัดและประเมินค่าซีเซียม-137ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายดังนี้
- ตรวจวัดปริมาณรังสีพนักงานโรงงานที่เกิดเหตุ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่ ได้รับด้วยการบันทึกข้อมูลรายละเอียดการได้รับรังสี
- ตรวจวัดและประเมินค่าปริมาณรังสีเบื้องต้น ณ บริเวณจุดเกิดเหตุ แบ่งเป็น
2.1 การตรวจสอบการเปรอะเปื้อนจากภายนอกร่างกาย
2.2 การตรวจวัดรังสีแกมมาด้วยเครื่องวัดรังสีที่อวัยวะแบบเคลื่อนย้ายได้ 3. เก็บตัวอย่างจากปัสสาวะของกลุ่มเสี่ยงตามแนวทางการเก็บโดยกําหนดเวลา 24 ชม. แล้วนํามาตรวจวัดที่ห้องปฏิบัติการ ปส. ด้วยเครื่องวัดรังสีแกมมา - การติดตามผลกระทบที่เกิดจากการได้รับสารรังสีเป็นระยะ
Discussion about this post