ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดนครปฐม ไอเดียเจ๋งดัดแปลงรถจักรยายนต์เก่าถูกทิ้งกลับมาใช้งานให้เป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยสามารถใช้งานได้จริงลดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมัน แถมดูแลง่าย เป็นการนำขยะที่ทำลายยากให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
วันนี้ 21 มี.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จังหวัดนครปฐมมีผู้ช่วยผู้ ใหญ่บ้านที่เป็นนักประดิษฐ์ สามารถดัดแปลงรถจักรยานยนต์เก่าที่ใช้การไม่ได้ให้เป็นรถจักร ยานยนต์ไฟฟ้าที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้งโดยมีการดูแลไม่ยุ่งยากและเป็นการแก้ไขสถาน การณ์น้ำมันมีราคาแพงทำให้ลดต้นทุนในครัวเรือนโดยมีผู้สนใจสั่งให้ประกอบแล้วนับสิบคัน
โดยผู้สื่อข่าวได้พบกับ นายจารัญ อัญลักษณ์เดโช อายุ 60 ปี 86/2 ม.2 ต.หนองงูเหลือม อ.เมืองนคร ปฐม จ.นครปฐมปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ซึ่งบอกว่าตน เองเริ่มสนใจการทำรถจักรยาน ยนต์ไฟฟ้ามานานแล้วและเริ่มทำแบบจริงจังเมื่อปี 2562 และทำเรื่อยมาเพราะมองว่ารถใช้เครื่อง ยนต์เวลาเริ่มเก่าจะมีอาการเสียบ่อยรวมถึงต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ค่าซ่อมบำรุงก็มีมากในหลายเรื่องและมีปัญหาเรื่องขยะที่ยากต่อการทำลาย ซึ่งบ้านเรือนไหนที่มีรถจักรยานยนต์เก่าก็ไม่รู้จะนำไปทิ้งที่ไหน หากจะนำไปขายก็ขายได้ในราคาไม่เกิน 500-1,000 บาท
นายจารัญ บอกว่า รถจักรยาน ยนต์คันแรกที่ตนเองเอามาแปลงเป็นรถไฟฟ้าได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี2562 มาจนถึงทุกวันนี้ยังใช้ดีอยู่และบำรุงรักษาง่ายไม่ต้องเติมน้ำมัน ซึ่งได้ใช้ระบบไฟ 60W กำลังไฟ 2000W วิ่งได้ระยะทาง 40 กิโลเมตรที่ความเร็วประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมงการชาร์จแบตเตอร์รี่ 1 ครั้งกินกระแสไฟประมาณ 1.2 หน่วยคิดเป็นเงินประมาณไม่เกิน 10 บาทต่อครั้งซึ่ง จะเป็นแบตลิเธียมฟอสเฟตค่าใช้จ่ายในการทำรถไฟฟ้าจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1-5 หมื่นบาท และสามารถทำให้วิ่งได้ถึง 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
นายจารัญ บอกต่อว่า ตั้งแต่ปี 2562- ปี2566 ตนเองทำรถไฟฟ้ามาแล้วประมาณ 15-16 คันส่วนมากคนที่ให้ตนทำรถให้จะเป็นคนรู้จักและทราบข่าวก็ส่งรถมาให้ทำบางรายอยู่ภาคใต้บางรายอยู่ภาคตะวันออกและภาคกลาง ซึ่งตน เองจะใช้การดัดแปลงจากเครื่อง ยนต์มาใช้มอเตอร์ใช้ล้อฮับหรือล้อมอเตอร์ที่เคลื่อนตัวที่ล้อ บางคันใช้มอเตอร์เพลาจะเป็นรถสาม ล้อรถสี่ล้อรถที่มาจากต่างประ เทศ มอเตอร์ขับกลางเป็นมอเตอร์เปล่าใช้โซ่หรือสายพานในการฉุดล้อให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า หรือถอยหลังได้ด้วย
“ข้อดีของล้อไฟฟ้าคือสามารถจมน้ำจนมิดล้อได้นาน1 นาทีซึ่งเราสามารถนำขึ้นมาเช็ดทำความสะอาดก็สามารถใช้งานต่อได้โดยไม่เกิดปัญหาอะไร ตอนนี้ผมกำลังรถจักรยายนต์ไฟฟ้า รุ่น KTM ขนาดประมาณ 990 CC เป็นรถใหญ่เจ้าของจอดเอาไว้นานและนำมาทำรถไฟฟ้าแบบมีหัวชาร์จสามารถไปเชื่อมต่อจากจุดบริการที่มีหัวจ่ายไฟฟ้าได้ทั่วไป ซึ่งผมได้ทำระบบฉับมอเตอร์ TG.WP 72V 6000V สำหรับรถที่ใช้ความเร็วประมาณ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปใช้ขนาดแบตเตอร์รี่ ขนาด 72V150-200A ราคาประมาณ 7-8 หมื่นบาท เป็นงานใหม่ที่ใช้งานได้จริง” นายจารัญ กล่าวปิดท้าย.
Discussion about this post