วันที่ 23 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายสุพจน์ ยศสิงห์คำ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นประ ธานพิธีมอบแบบลายผ้าพระราช ทานลายดอกรักราชกัญญา ให้แก่รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสิงห์บุรี พัฒนาการจังหวัดสิงห์บุรี หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสิงห์บุรี ที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอ กลุ่มทอผ้าและกลุ่มหัตถกรรมในพื้นที่ จำนวน 23 ราย โดยมีนายสมชาย ลีหล้าน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี นางจิราภรณ์ กองเงิน รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสิงห์บุรี นายถวิล ยี่สุ้นแสง พัฒนา การจังหวัดสิงห์บุรี หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสิงห์บุรี นายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ กลุ่มองค์กร และแขกผู้มีเกียรติร่วมพิธี ณ เรือนไทยหัตถศิลป์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
สืบเนื่องจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดพิธีมอบแบบผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” แก่ผู้ว่าราช การจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อนำไปมอบต่อให้กับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประ กอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ช่างทอผ้า และช่างหัตถกรรม วันที่ 9 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 น. โดยนายสุพจน์ ยศสิงห์คำ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี รับมอบแบบผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” จากนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 5 – 6 ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปมอบต่อให้กับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ช่างทอผ้า และช่างหัตถ กรรมจังหวัดสิงห์บุรี เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา ซึ่ง “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” เป็นลายผ้าที่พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าลวด ลายพื้นถิ่นภาคใต้ แล้วนำมาออก แบบผสมผสานกับ “ลายดอกรัก” ที่สื่อถึงความรักและกำลังใจที่พระองค์ทรงสร้างสรรค์ขึ้นประ กอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ประ เภทที่ 1 ผ้าลายพระราชทาน ผ้าลายดอกรักราชกัญญา ประ เภทผ้าบาติก ประเภทที่ 2 ผ้าลายพระราชทาน ผ้าลายดอกรักราชกัญญา ประเภทผ้ามัดหมี่ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ มีลวดลายประกอบด้วย ตัวอักษร S สื่อถึงพระกรุณาธิคุณ พระวิสัยทัศน์และพระอัจฉริยภาพในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถศิลป์พื้นถิ่น ให้มีที่ยืนในโลกใบใหม่ได้อย่างภาคภูมิ ลายดอกรักสี่ทิศ สื่อถึงความจงรักภัก ดีที่ช่างทอผ้า ทุกกลุ่มทุกเทคนิคจากทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ แสดงต่อพระองค์ และได้เทิดทูนพระ องค์ไว้เหนือเกล้า เหนือกระหม่อมชั่วลูกสืบหลาน ลายดอกรักห้ากลีบ สื่อถึงจิต 5 ประการ ที่ถักทอผืนผ้าแห่ง ความสำเร็จ ได้แก่ ความเชี่ยวชาญ ความคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ความเคารพและเข้าใจ และความมีคุณธรรม และลายกระจังใจรัก สื่อถึงความรักและห่วงใยจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างอเนกอนันต์ ประเภทที่ 3 ผ้า ลายพระราชทาน ผ้าลายดอกรักราชกัญญา ประเภทผ้ายก มีลวด ลายประกอบด้วย ตัวอักษร S ตัวใหญ่ สื่อถึงพระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาการทอผ้าและงานหัตถศิลป์ไทยในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตัวอักษร S ตัวเล็ก สื่อถึงพระดำริที่ตั้งมั่นในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิ ธานอันยิ่งใหญ่ในสมเด็จย่าของพระ องค์ ทางด้านการฟื้นคืนภูมิปัญ ญาการทอผ้าของไทยให้มีความร่วมสมัยและเป็นสากล ลายกรอบย่อมุม สื่อถึงภูมิปัญญาการทอผ้าและหัตถศิลป์ พื้นถิ่นที่มีเอก ลักษณ์ จากทุกภูมิภาค ของประเทศไทย ที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดิน ลายดอกรักสี่ทิศ สื่อถึงความรักและศรัทธา ในงานถักทอผืนผ้าแห่งภูมิปัญญาพื้นถิ่น ด้วยสมองและสองมือของช่างทอผ้า ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ลายเชิงช่อดอกรัก สื่อถึงความรักและกำลังใจที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานแก่ ช่างทอผ้า ผู้สืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าและหัตถศิลป์พื้นถิ่นของไทยในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ผ้าบาติกลายพระราชทาน ลายที่ 4 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โปรดเกล้าฯ ให้พัฒนา “ผ้าบาติกลายพระนามา ภิไธยสิริกิติ์” ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระ บรมราชชนนีพันปีหลวง ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อครั้งโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราช ดำเนินเยือนสาธารณรัฐอินโดนี เซีย เมื่อปี พ.ศ. 2503 เพื่อให้มีความร่วมสมัยและเป็นสากล
ในการนี้ ถวิล ยี่สุ้นแสง พัฒนาการจังหวัดสิงห์บุรี พร้อมด้วยผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี ได้จัดแสดงนิทรรศ การเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 36 พรรษา และนิทรรศการผ้าไทยใส่ให้สนุกตามพระดำริพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และโดยนิทรรศการผ้าลายดอกทองอุไร ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี และผลิตภัณฑ์งานหัตถ กรรมของแต่ละอำเภอมาจัดแสดงร่วมด้วย เพื่อสร้างการรับรู้และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปสู่การสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มผู้ประ กอบการ OTOP/ผู้ผลิตชุมชน อย่างยั่งยืน.
Discussion about this post