เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2566 นายจำรัส สวนจันทร์ ผอ.โครงการชลประ ทานศรีสะเกษ เปิดเผยว่า โครง การชลประทานศรีสะเกษ ได้ร่วมกับฝ่ายปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีที่มีกลุ่มนายทุนและราษฎร เข้าไปบุกรุกใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาตบริเวณพื้นที่ของอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ ต.ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อทำการค้าขาย ก่อสร้างอาคารที่พัก/รีสอร์ท และปลูกพืช ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาการบุกรุกดังกล่าว โดยมีนายอำเภอภูสิงห์ เป็นประธานคณะกรรมการฯ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการหาแนวทางภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบปัญหาการบุกรุกพื้นที่ของกลุ่มนายทุนและราษฎร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางความจุเก็บกักประ มาณ 12.50 ล้าน ลูกบาศก์เมตร อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำห้วยสำราญ ที่เป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่ของจังหวัดศรีสะเกษ มีเขตติดต่อกับชาย แดนไทย- กัมพูชา และคาบเกี่ยวกับจังหวัดสุรินทร์
ทั้งนี้ โครงการชลประทานศรีสะ เกษ ได้ใช้นวัตกรรม สแกนแอนด์คลิก เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก เพื่อเข้าถึงข้อมูลเขตชล ประทานได้ง่ายและสะดวก ผ่าน แอปgoogle map บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ(Smart Phone) ซึ่งผลจากการตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว จะนำไปประกอบการดำเนินการทางข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้การ สแกนแอนด์คลิก เป็นนวัตกรรมกระบวนการ ที่โครงการชลประทานศรีสะเกษได้รับรางวัล RID Innovation award 2023 ของกรมชลประทาน และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการประกวดรางวัลเลิศรัฐ ของจังหวัดศรีสะ เกษ จนจังหวัดศรีสะเกษได้รับรางวัลชนะเลิศในปี 2565 อีกด้วย
สำหรับอ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่กรมชล ประทาน ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2538 ใช้ในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ปัจจุบันพบว่ามีราษฎรและกลุ่มนายทุนบุกรุกเขตพื้นที่ชล ประทาน จำนวน 39 ราย ที่ผ่านมาโครงการชลประทานศรีสะเกษ ได้มีการแจ้งเตือนกลุ่มผู้บุกรุกแล้วหลายครั้ง เพื่อให้รื้อถอนและปฏิ บัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะได้เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยว ข้องต่อไป.
Discussion about this post