เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 มี.ค. 66 ที่ ห้องประชุมบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด(BST) ในเขตโรง งานอุสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง นายชาตรี ชื่นชมสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด ให้เกียรติเป็นประธานพิธีลงนาม โครงการทอดไม่ทิ้ง ทำง่ายที่บ้าน ผลักดันสุขภาวะที่ดี รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยมี นายศุภชล นิธิวาสิน กรรมการผู้จัดการบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด นายวิโรจน์ เลิศสลัก ผู้จัดการโรงงาน บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด น.ส. บุษบา บุญมั่น ผู้จัดการส่วนชุมชนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด นางอภิชญา พุทธพงษ์ หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง นางสุดารัตน์ ภู่สุวรรณ ผู้แทนบริษัทธนโชคกรุ๊ป และผู้นำชุมชน 33 ชุมชน ในพื้นที่เขตมาบตาพุด เข้าร่วมกิจกรรมและมีการรับมอบ MOU ให้กับประธานชุมชนและชุมชนด้วย
นายชาตรี ชื่นชมสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด กล่าวว่า โครงการ “ท อ ด ไ ม่ ทิ้ ง” เป็นการจัดการน้ำมันใช้แล้วในครัวเรือน เกิดจากความร่วมมือส่งเสริมแนวทางการจัด การสุขภาวะ รักษาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน โดยนำน้ำมันที่ใช้แล้วเสื่อมสภาพกลับไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เพื่อแก้ปัญหาที่มีต่อสุขภาวะร่างกายของการบริโภค และลดปัญหาแหล่งน้ำถูกปนเปื้อนด้วยคราบไขมันลอยบนผิวน้ำ ซึ่งส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนในน้ำ และส่งผลให้ไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำสาธารณะ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาน้ำท่วม อย่างเป็นระบบและครบวงจร โดยบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด และบริษัทในเครือ ได้จัดได้พิธีลงนามบันทึกข้อตก ลง (MOU) โครงการ “ท อ ด ไ ม่ ทิ้ ง” อย่างมีระบบ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายรักษ์สิ่งแวดล้อม และชุมชนในเขตมาบตาพุด บ้านฉาง ในจังหวัดระยอง เพื่อรณรงค์ให้ชุม ชน “ไม่เททิ้ง” น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วสู่พื้นที่สาธารณะ ป้องกันปัญหาจากการทิ้งของเสียอย่างไม่ถูกวิธีที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาวะ และสิ่งแวดล้อม และ “ไม่ทอดซ้ำ” ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ จากการเสื่อมสภาพของน้ำมันและเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม Success Together บริษัท กรุง เทพ ซินธิติกส์ จำกัด
โครงการ “ท อ ด ไม่ ทิ้ ง” เป็นความร่วมมือกันขององค์กรที่มุ่งมั่น สนับสนุนการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการสร้างมูลค่า จากแนวคิดเศรษฐกิจ หมุนเวียน หรือ Circular Economy และสอดคล้องกับหลัก ESG (Environmental, Social, Governance) ซึ่งนอกจากผลดีในเรื่องของสุขภาวะ และสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว ยังช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยการนำเอาน้ำมันใช้แล้วในครัวเรือนมาขายเป็นเงินเพื่อสร้างมูลค่า และกลับไปปรับ ปรุงคุณภาพ และนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนไบโอดีเซล ได้อีกครั้ง (โดยหลัก 4ก “เก็บ กรอง กรอก กลับ”) โดยได้เริ่มดำเนินการแล้ว จำนวน 33 ชุมชน ในเขตพื้นที่มาบตาพุด และบ้านฉาง โดย BST ได้ตั้งเป้าหมายเก็บรวบรวมน้ำมันใช้แล้วในครัวเรือน จำนวน 1,000 ลิตร/ชุมชน/ปี โดยมีแผนจะขยายผลไปยังพื้นที่ต่างๆ ต่อไปในอนาคต เพื่อลดอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ และปัญหาแหล่งน้ำปนเปื้อน เพื่อเป็นการรักษาสุข ภาพวะชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน ตามปณิธานขององค์ กร คือ “BST มุ่งมั่นความปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมอยู่คู่ชุมชน”
วิธีการคัดแยกจากต้นทาง ให้ถูกวิธี (หลัก 4ก “เก็บ กรอง กรอก กลับ”)1. เก็บ (รอให้น้ำมันเย็นก่อนแล้วจึงเทใส่ภาชนะจัดเก็บ)2. กรอง (กรองกากอาหาร เศษผงจากการทอดโดยใช้ที่กรอง ให้เหลือแต่น้ำมัน)3. กรอก (นำน้ำมันบรรจุกรอกใส่ขวดหรือใส่ภาชนะที่สะอาด)4. กลับ (น้ำมันนี้จะส่งกลับไปปรับปรุงคุณภาพ และนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนไบโอดีเซล.
Discussion about this post