เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 น. ที่ ห้องน้ำทอง โรงแรมน้ำทองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญาด้วยการสนับสนุนของธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์รุ่นที่ 1 “66 วันเรียนรู้ชีวิต ทำธุรกิจให้เป็นจริง” เพื่อพัฒนาเยาวชนระดับมัธยมปลายในจังหวัดน่าน ให้มีความรู้ใหม่ และได้รับประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจจริง ใน 66 วัน โดยวิทยากรมืออาชีพกูรูด้าน ธุรกิจระดับประเทศและผู้ประกอบการตัวจริง โดยจัดทำโครงการนำร่องกับนักเรียนจาก 8 โรงเรียน 40 คน ใน จังหวัดน่าน ตอกย้ำเจตนารมณ์การพัฒนาเยาวชนให้มีองค์ความรู้ใหม่ ทักษะใหม่ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง และสร้างความยั่งยืนในจังหวัดบ้านเกิด สอดคล้องกับความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายสำคัญของ SDGS
ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย กรรมการผู้จัดการมูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา เปิดเผยว่า คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย ได้มีแนวดำริที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนโดยผ่านระบบการศึกษาที่เป็นกลไกพื้นฐานทางคามคิดที่สำคัญโดยเฉพาะในเยาวชน และถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะลดทอนความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ ด้วยแนวคิดดังกล่าว ธนาคารได้ริเริ่มโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาขึ้นในปี 2556 โดยดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จนถึงปี 2562 และดำเนินโครงการหวัดน่านจนถึงปี 2565 ซึ่งพบว่าโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาช่วยพัฒนาระบบการเรียนฐานวิจัย สามารถเปลี่ยนกระบวนการคิดในเยาวชนให้สามารถตั้งสมมติฐานและหาคำตอบด้วยตรรกะ เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งนี้ เพื่อสืบสานแนวดำริดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ในเดือนธันวาคม 2565 ธนาคารกสิกรไทยได้ก่อตั้ง มูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญาขึ้นโดยมี ดร. อภิชัย จันทรเสน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ และคุณขัตติยา อินทรวิชัย ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการมูลนิธิ เพื่อต่อยอดกระบวนการเพาะพันธุ์ปัญญาให้มีความต่อเนื่องโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการมอบโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ทักษะใหม่ และประสบการณ์จริง เพื่อให้เยาวชนมีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตอย่างสมดุลในอนาคต ในปี 2566 นี้ มูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญาได้ริเริ่มโครงการที่เสริมสร้างสมรรถนะของนักเรียนให้มีองค์ความรู้ใหม่และทักษะใหม่ที่แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียน ผ่านกิจกรรมในโครงการ “เพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์” รุ่นที่ 1 ภายใต้แนวคิด “66 วันเรียนรู้ชีวิต ทำธุรกิจให้เป็นจริง” เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมูลนิธิฯ ด้วยการลงมือเพาะพันธ์ปัญญาแคมป์ ปฏิบัติจริง ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะและเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถกลับมาดูแลท้องถิ่น พัฒนาชุมชน และสร้างความยั่งยืนในจังหวัดน่านและพื้นที่ใกล้เคียง และตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) เรื่องการส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ (Quality Education) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนเป้าหมายความยั่งยืนด้านอื่น ๆ อาทิ การสร้างานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต (Decent Work and Economic Growth) และการลดความเหลื่อมล้ำ (Reduce Inequalities) โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์ รุ่นที่ 1 จัดให้กับกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นช่วงวัยที่กำลังแสวงหาแนวทางการดำเนินชีวิตก่อนก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัย จึงเหมาะกับการให้ประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ ที่จะช่วยพัฒนาให้เยาวชนเกิดทักษะใหม่ มีตรรกะในการดำรงชีวิต สามารถสร้างสมดุลให้แก่ตนเอง โดยให้โอกาสเยาวชนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 45 ที่เคยผ่านห้องเรียนเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนละ 5 คน จาก 8 โรงเรียนในเมืองและพื้นที่ห่างไกลของจังหวัดน่าน รวม 40 คน ที่มีความคิดก้าวหน้า พร้อมเรียนรู้ในการทำธุรกิจและต้องการเป็นผู้ประกอบการ มาร่วมแคมประหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 27 พฤษภาคม 2566 รวม 66 วัน
สำหรับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้ความรู้ตั้งแต่การสร้างสรรค์และทดสอบไอเดียธุรกิจ การเปลี่ยนไอเดียธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง ความรู้ด้านการตลาดและการเงินสำหรับผู้ประกอบการ การสร้างแผนและพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ตลอดจนความรู้ทักษะชีวิตพื้นฐานทั้งภาวะผู้นำ การสื่อสาร และการนำเสนอ จากวิทยากรมืออาชีพและกูรูด้านธุรกิจระดับประเทศ รวมทั้งผู้ประกอบการในจังหวัดน่าน เพื่อเสริมสร้างทักษะและศักยภาพของเยาวชนให้สมารถสร้างโมเดลธุรกิจให้เป็นจริงในรูปแบบบริษัท โดยมูลนิธิฯ จะสนับสนุนทุนเริ่มต้นในการทำธุรกิจ และมีรางวัลให้แก่ทีมที่มีผลงานยอดเยี่ยม รวมทั้งมีทุนสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตันสังกัดอีกด้วย ทั้งนี้ โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์จะมุ่งเน้นการเรียนรู้แบบสนุกสนานจากกิจกรรม 3 แคมป์ต่อเนื่อง ได้แก่ แคมป์ที่ 1 “กล้าเรียน” (วันที่ 23-27 มีนาคม 2566) ปูพื้นฐานสร้างไอเดียธุรกิจ ความเป็นไปได้ และเรียนรู้สิ่งที่จำเป็นในการทำธุรกิจ โดยระหว่างการเรียนรู้ ทั้ง 8 ทีมจะต้องนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาไอเดียธุรกิจที่มีคุณค่า และนำทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฯ ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อนำไปทดลองตลาดต่อไป(Minimum Viable Product: MVP) แคมป์ที่ 2 “กลัาลุย” (วันที่ 20-23 เมษายน 2566) บุกตลาด ลงมือขาย พบลูกค้าตัวจริง เรียนรู้ จุดเด่นจุดด้อย เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการ โดยทีมเยาวชนจะได้นำผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คิดและพัฒนาไปทดลองขายหรือสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริโภคตัวจริงที่ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ และเดินหน้าจัดจำหน่ายเป็นธุรกิจจริงต่อไป และแคมป์ที่ 3 “กล้าก้าว” (วันที่ 24-27 พฤษภาคม 2566) รายงานและนำเสนอผลประกอบการ รับแรบันดาลใจ ซึ่งทั้ง 8 ทีม จะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและนักธุรกิจตัวจริง โดยจะประกาศผลและมอบรางวัลให้แก่ทีมที่มีผลงานยอดเยี่ยมและได้รับคะแนนสะสมมากที่สุด
นอกจากนั้น เยาวชนจะได้เปิดโลกทัศน์เรียนรู้ประสบการณ์จากบุคคลตันแบบที่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจและผู้นำความคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับประเทศในงานปัจฉิมนิเทศอีกด้วยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ “เพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์” รุ่นที่ 1 ประกอบด้วย 1. โรงเรียนศรีสวัสดิ์ วิทยาคาร อ.เมืองน่าน 2. โรงเรียนสา อ.เวียงสา 3. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 อ.เวียงสา 4. โรงเรียนปัว อ.ปัว 5. โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม อ.ท่าวังผา 6. โรงเรียนเชียงกลางประชาพัฒนา อ.เชียงกลาง 7. โรงเรียนพระธาตุพิทยาคม อ.เชียงกลาง และ 8. โรงเรียนเมืองลีประชาสามัคคี อ.นาหมื่น
ดร.อดิศวร์ กล่าวตอนท้ายว่า มูลนิธิฯ มีความตั้งใจที่จะทำให้โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์เป็นพื้นที่ที่ให้โอกาสเยาวชนในจังหวัดน่านได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่และไอเดียธุรกิจที่สร้างสรรค์ ได้ลงมือทำธุรกิจจริง ซึ่งจะทำให้ได้พัฒนาทักษะในการจัดการอย่างมืออาชีพทั้งกระบวนการ ฝึกฝนการทำงานเป็นทีม ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เรียนรู้ที่จะล้มเหลวและลุกขึ้นสู้อย่างไม่ท้อถอย สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์และมิตรภาพระหว่างเพื่อนร่วมแคมป์ โดยเชื่อมั่นว่าองค์ความรู้และประสบการณ์จากเพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์ จะเติมเต็มและสร้างความพร้อมให้กับเยาวชนในการรับมือกับโจทย์ใหม่และความท้าทายที่จะเข้ามาในอนาคตอย่างมั่นใจและสมดุล ซึ่งระบบการเรียนรู้นี้จะเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะในการพัฒนาและสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศต่อไป
Discussion about this post