เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ที่จุดประปาภูเขาบ้านห้วยโป่ง (ธารน้ำตกแม่สะกิ๋น) หมู่ 7 ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านที่สุดท้ายของตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ นำโดย นายจำนงค์ สุขจิต ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นคณะกรรมการบริหารประปาหมู่บ้าน นางสาวปุญวีร์ สะเอียบคง นายสุจินต์ ธรรมวัง นายสวัสดิ์ สุขจิต นายสวัสดิ์ สะเอียบคง นายสุชาติ สุขจิต พร้อมชาวบ้านห้วยโป่ง ร่วมปรับภูมิทัศน์บริเวณจุดรับน้ำประปาภูเขาบ้านห้วยโป่ง หมู่ 7 ฯ (ห้วยแม่สะกิ๋นและซ่อมแซมทำนบห้วยน้ำอุ่น เพื่อเป็นการยกระดับน้ำประปาให้เพิ่มขึ้น และความยั่งยืนของหมู่บ้าน
นายจำนงค์ สุขจิต กล่าวว่า วันนี้ชาวบ้านห้วยโป่ง หมู่ 7 ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ได้ร่วมแรงร่วมใจในการปรับภูมิทัศน์บริเวณจุดรับน้ำประปาภูเขา และซ่อมแซมทำนบห้วยน้ำอุ่น เพื่อเป็นการยกระดับน้ำประปาของหมู่บ้านให้เพิ่มขึ้น เพราะชาวบ้านอบูรกับป่ามาตั้งแต่โบราฯกาล พวกเราทุกคนมีความห่วงแหนป่า และดูป่า จึงทำให้มีน้ำประปาภูเขาใช้ได้ดีตลอดมาและความยั่งยืนของหมู่บ้าน
ก่อนหน้านั้นรับฟังจากรุ่นปู่รุ่นย่าว่า มีการสร้างทำนบแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน มีการทำสะเหวียน มุงหลังคา เพื่อให้ใบไม้ลงมาจุดรับน้ำประปา โดยท่อส่งน้ำเป็นไม้ไผ่ซาง ที่ได้จากป่าบริเวณนั้น และเมื่อ ปี 2546 เจ้าหน้าชุดประชาสัมพันธ์และบูรณาการ หน่วยศึกษาฯ แม่สอง นายประมวล โพธิ เป็นหัวหน้าหน่วย ได้ค้นพบว่า บ้านห้วยโป่ง เป็นหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง จึงมีการสนับสนุนฟื้นฟูระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึกชาวชาวบ้าน และสนับสนุนปูน และท่อประปาพีวีซี การสนับสนุนต้นกล้าไม้ให้กับหมู่บ้านตลอด ปัจจุบันมีหน่วยงานเข้ามาสนับการสร้าง สร้างรายได้กับชุมชน ป่าชุมชน เพื่อสร้างความยั่งยืนของชุมชนต่อไป
นางสาวปุญวีร์ สะเอียบคง กล่าวว่า ได้ร่วมพี่น้องชาวบ้าน คณะกรรมการบริหารประปาบ้านห้วยโป่ง ร่วมปรับภูมิทัศน์บริเวณจุดรับน้ำประปาภูเขาและเตรียมปรับพื้นที่ดังกล่าว มีกานปลูกต้นไม้หลากหลาย โดยให้แต่ละครอบครัวร่วมกันปลูกต้นไม้ ร่วมดูแลต้นไม้ นอกจากนี้มีซ่อมแซมทำนบห้วยน้ำอุ่น เพื่อยกระดับน้ำให้เพิ่มมากขึ้น ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ความยั่งยืนของหมู่บ้าน
สำหรับบ้านห้วยโป่ง หมู่ 7 ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านที่สุดท้ายของตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ระยะทางร่วม 100 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของสำนักงานทางหลวงชนบท เส้นทางคับแคบมาก การสื่อสารไม่ดีเท่าที่ควร โทรศัพท์ใช้โทรเป็นส่วนมาก ระบบไลน์ ใช้งานไม่ได้เป็นอุปสรรคกับหน่วยงานราชการในการทำงาน ที่จะสื่อสารกับผู้นำหมู่บ้าน และพี่น้องชาวบ้าน และที่สำคัญระบบไฟฟ้าดับบ่อยครั้งมาก เป็นอุปสรรคปัญหาของพี่น้องประชาชน บ้านนาหลวง บ้านนาฝาย บ้านท่าวะ และบ้านห้วยโป่งเป็นอย่างมาก
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
Discussion about this post