
วันนี้ 29 มี.ค.66 ที่ห้องประชุม สภ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราช การจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประ ธานประชุมขับเคลื่อนโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตาม ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566 พร้อมด้วย พล.ต.ต.นเรวิช สุคนธวิท ผบก.ภ.จว.ฉะเชิงเทรา รอง ผอ.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดฉะเชิง เทรา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา ผอ.สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 2 หน่วยงานบูรณาการร่วม รวม 23 หน่วย นายอำเภอ 11 อำเภอ และ ผกก.สภ.ในสังกัด ภ.จว.ฉะเชิงเทรา 18 นาย
นายขจรเกียรติ กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาลและเจตนารมณ์ ของประมวลกฎหมายยาเสพติดเปลี่ยนกรอบแนวคิดหลักจากสงครามยาเสพติด มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหายาเสพติด ผู้ติดยาเสพติดโดยใช้วิธีการทางสาธารณ สุขแทนการใช้กระบวนการยุติ ธรรมทางอาญา ยึดหลักผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ควรได้รับการช่วยเหลือ ให้เข้ารับการบำบัดรักษา ตลอดจนมีการติดตามช่วยเหลือ ให้กลับมาดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน ปัจจุ บันมีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด จะเพิ่มขึ้นตามสภาพปัญหาเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งปัญหาอาชญากรรมหลายประเภท พบว่าผู้ก่อเหตุในหลายคดี เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งในด้านผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด รวมถึงผู้ป่วยจิตเวช หรือผู้ที่มีอาการทางจิตจากการใช้ยาเสพติด ซึ่งมีลักษณะการก่อเหตุที่รุน แรงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นวงกว้าง บางรายคลุ้มคลั่งก่อเหตุทำลายทรัพย์สิน ทำร้ายร่างกายบุคคลใกล้ชิดในครอบ ครัวบุคคลรอบข้าง รวมถึงก่อเหตุสะเทือนขวัญรุนแรง ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินโครง การดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ตามยุทธศาสตร์ชาติในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาตของยาเสพติดในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน หมู่บ้าน เพื่อป้องกันแก้ไขและดูแลผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ภายใต้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล ให้เป็นไปตามหลักการสาธารณ สุขและสิทธิมนุษยชน มีกระบวน การตั้งแต่การค้นหา คัดกรองพื้นฟู และลดอันตรายจากยาเสพติด อีกทั้งสร้างภูมิคุ้มกันและติดตาม ดูแล ช่วยเหลือทางสังคมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หน่วยงานสาธารณสุข ฝ่ายปกครองเจ้าหน้าที่ทหาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ร่วมบูรณาการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ ในการคันหาผู้เสพยาเสพติด เข้าสู่กระบวน การบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.
Discussion about this post