วันที่ 31 มี.ค.66 ที่ศูนย์สารสน เทศยางพารานครพนม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม ตำบลหนองแสง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม นายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารงานอาสาสมัครเกษตรจังหวัดนครพนม นำเสนอผลสำเร็จการดำเนินงานที่ผ่านมาเกิดประโยชน์กับเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมวางแนวทางในการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครเกษตร ปี 2566 และนางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เป็นรองประธานกรรมการ และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน การบันทึกข้อมูลในระบบ การยกร่างคำสั่งจังหวัด เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรจังหวัด (อกษจ.) และแนวทางในการคัดเลือกอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน
นายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทางคณะทำงานได้ร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาอาสาสมัครเกษตร โดยมีการจัดประชุมคณะทำงาน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกษตรหมู่บ้าน เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน เพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ภารกิจในการสนับสนุนงานด้านการเกษตร พร้อมทั้งวางแผนการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ยังมีการคัดเลือกและจัดทำข้อมูลอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน จำนวน 1,139 คน และมีการดำเนินงานตามโครงการสำมะ โนการเกษตร โดยทางสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ขอความร่วมมมือในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครเกษตรในพื้นที่ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรทุกรายที่มีการทำกิจ กรรมการเกษตร ซึ่งเป็นการสำ รวจข้อมูลภาพรวมด้านการเกษตรในแต่ละพื้นที่
สำหรับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ถือเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาภาคการเ กษตร โดยจะให้อาสาสมัครเกษตรคัดเลือกตัวแทนระดับหมู่ บ้าน ๆ ละหนึ่งคน เป็นอาสาสมัคร เกษตรหมู่บ้าน เรียกโดยย่อว่า “อกม.” ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ประกาศกำหนด ซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เป็นอาสาสมัครเกษตร (2) อายุไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์ ในวันที่ได้รับการคัดเลือก (3) การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป (4) ขึ้นทะเบียนความเป็นเกษตรกรกับหน่วยงานสังกัดกระ ทรวงเกษตรและสหกรณ์ (5) ผ่านหลักเกณฑ์และคุณสมบัติเกษตร กรปราดเปรื่อง และในส่วนของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีหน้าที่ ในการจัดเก็บรวบรวมและรายงานข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ระดับหมู่ บ้าน ประสานงานในการถ่ายทอดความรู้ และแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรและการสหกรณ์ ของเกษตรกรในหมู่บ้าน ติดตามสถาน การณ์การเกษตรในหมู่บ้าน และรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินต่อหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและชุมชนหรือตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหน่วยงานอื่นขอความช่วยเหลือ และมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี อาสาสมัครเกษตรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แบ่งตามลักษณะการให้บริการทางการเกษตร มีจำนวน 16 สาขา ได้แก่ อาสาสมัครเกษตรและสหกรณ์ อาสาสมัครฝนหลวง ครูบัญชีอาสา ประมงอาสา อาสาปศุสัตว์ หมอดินอาสา อาสาสมัครสหกรณ์ อาสาสมัครชลประทาน เศรษฐกิจการเกษตรอาสา อาสาสมัครปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อาสาสมัครชาวนาชั้นนำ อาสาสมัครครูยาง สารวัตรเกษตร หม่อนไหมอาสา Q อาสา และเกษตรหมู่บ้าน เพื่อทำหน้าที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ ตามภารกิจของหน่วยงาน และคัดเลือกผู้แทนหมู่บ้านละ 1 คน เป็นอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เข้ามาทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงการข้อมูล การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และปฏิบัติงานตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมาย สิ่งสำคัญยิ่งของอาสาสมัครเกษตร คือ ความเสียสละ ทุ่มเทแรงกาย ทำงานด้วยจิตอาสา ดังคำกล่าวที่ว่า “รวดเร็ว ทั่วถึง แม่นยำ นำความรู้ สู่บริการ ประสานความช่วยเหลือ เพื่อเกษตรกร”.
Discussion about this post