
วันที่ 1 เม.ย.66 คุณภาพอากาศในพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงราย ยังคงปกคลุมด้วยหมอกควันอย่าหนาแน่น ระยะมองเห็นเพียง 1-3 กิโลเมตร โดยกรมควบคุมมลพิษได้ตรวจวัดคุณภาพอากาศเช้านี้ของตัวเมืองเชียงรายพบว่ายังสูง pm 2.5 วัดได้269 ไมโครกรัมต่อลูกบาสก์เมตร อ.แม่สายวัดได้ 314 ไมโครกรัมต่อลูกบาสก์เมตรและอ.เชียงของ วัดได้ 238 ไมโครกรัมต่อลูกบาสก์เมตร ซึ่งเป็นค่าที่เพิ่มขึ้นจากวันก่อนและมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ในฐานะผู้บัญชาการ ศบก.ไฟป่า จ.เชียงราย ยังคงระดมกำลังเจ้าหน้าที่จำนวนหหลายพันคน ออกดับไฟป่าตามจุดความร้อนหรือฮอตสปอตต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทั้งในพื้นที่่ ดอยจระเข้ อ.แม่จัน อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก อุทยานแห่งชาติแม่ปืม อ.เมืองเชียงราย อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อ.พาน และป่าเขต อ.แม่สรวย อ.เวียงเป่าเป้า จ.เขียงราย
โดยมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บจำนวน 1 คน จนเกือบทำให้เสียชีวิต ทราบชื่อคือนายธนดล เวียงนนท์ อายุ 53 ปี พนักงานราชการ หน่วยจัดการต้นน้ำดอยตุง ขณะเข้าดำเนินการออกดับไฟป่าบริเวณบ้านผาบือ หมู่ที่ 9 ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย พื้นที่เสียหายประมาณ 3-0-19 ไร่ เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 12.30 น.ของวันที่30 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยไม้ไผ่ซึ่งถูกไฟลุกไหม้พาดสายส่งไฟฟ้า ทำให้เกิดประกายไฟลุกลาม จึงได้แจ้งการไฟฟ้าส่งนภูมิภาคสาขาย่อยดอยตุงให้ทำการตัดไฟ จึงสามารถทำการดับไฟที่ไหม้จนดับสนิท จึงแจ้งให้ทางการไฟฟ้าทำการปล่อยไฟฟ้า ขณะที่ จนท.กำลังเดินลอดสายไฟฟ้าที่หย่อนลง พลาดเสียหลักโดนไฟฟ้าช๊อต แจ้งกู้ภัยนำตัว จนท ส่งโรงพยาบาลแม่จัน เบื้องต้นแพทย์ตรวจอาการพบว่า ปลอดภัยพ้นขีนอันตราย แต่ให้นอนดูอาการที่ รพ. 3-4 คืน
ล่าสุดทางนายชุติเดช กมนณชนุตม์ ผอ.สบอ.15 (เชียงราย) พร้อมด้วยนายกอบชนม์ พัชรพิมล หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำดอยตุง นายพรเทพ ศิระวงษ์ ผอ.ส่วนจัดการต้นน้ำ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าเยี่ยมอาการ นายธนดล ที่โรงพยาบาลแม่จันเพื่อให้กำลังใจ พร้อมมอบกระเช้าผลไม้และเงินสวัสดิการ สบอ.15 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ทั้งนี้ได้สอบถามอาการ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ให้หายบาดเจ็บโดยเร็ว นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมอาการนายอาทู มาเยอะกู จนท.สถานีควบคุมไฟป่าดอยแม่สลองที่ประสบอุบัติเหตุรถยนต์เบรคแตกลงข้างทางเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 แพทย์แจ้งว่ามีอาการดีขึ้นตามลำดับเช่นกัน
นายพุฒิพงศ์ กล่าวว่าสำหรับไฟป่าที่เกิดขึ้นทาวงจังหวัดได้ขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์จากหลายหน่วยงาน ทั้ง ฮ.ปักเป้า แบบ KA-32 ของกรมบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและของฝ่ายทหารกองทัพภาคที่ 3 ที่เข้ามาสนับสุนเพิ่มเติม จึงทำให้สามารถดับไฟป่าได้แล้วหลายจุดแต่บางจุดไม่สามารถบินไปได้ เช่น ดอยจระเข้ อ.แม่จัน ฯลฯ เพราะทัศนวิสัยทางอากาศยังไม่ดีพอซึ่งวันนี้หากสภาพอากาศเหมาะสมก็จะบินเข้าไปดับต่อไป ด้านเขต อ.เมืองเชียงราย พบว่าได้มีการจำกัดเขตจนทำให้ปริมาณฮอตสปอตที่เคยมีมากกว่า 100 แห่ง ลดลงจนใกล้หมดแล้วโดยเหลือเพียงประมาณ 25 จุดเท่านั้น ส่วนทางโซนทิศใต้ทาง อ.แม่สรวย และ อ.เวียงป่าเป้า ยังมีไฟลุกไหม้หลายจุดซึ่งก็จะใช้วิธีจำกัดวงให้แคบลงไปเรื่อยๆ เพื่อค่อยๆ ดับให้หมดในอนาคตต่อไป
.
รายงานข่าวแจ้งว่าล่าสุดทาง ผบ.กองบิน 41 กองทัพอากาศ ได้อนุมัติให้ฝูงบิน 416 (เชียงราย) ตั้งอยู่ในเขต อ.เมืองเชียงราย ได้สนับสนุนกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย (กอปภ.จ.ชร.) ในการใช้สนามบินเพื่อการลงจอดของเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวแล้วจนกว่าการดับไฟจะเสร็จสิ้น ขณะที่การจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการทำลายและเผาป่าตั้งแต่ จ.เชียงราย ประกาศห้ามเผาวันที่ 15 ก.พ.-15 เม.ย.นี้ พบว่าจนถึงวันนี้ (31 มี.ค.) มีจำนวน 11 คดี ผู้ต้องหาจำนวน 15 คน ขณะเดียวกันจะมีการเปิดภารกิจ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะทำการบินแบบอากาศยาน CASA ภารกิจดับไฟป่าเชียงราย ในวันจันทร์ที่ 3 เม.ย.66 เวลา ประมาณ 13.00 น. ที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง โดย กรมฝนหลวงฯ จะทำการบิน 2 ลำ ขึ้นบิน 4 รอบ ต่อวัน ทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
ด้านนายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย กล่าวถึงปัญหาหมอกควันในพื้นที่ชายแดนแม่สายว่าปีนี้ถือว่าสถานการ์หนักกว่าทุกปี เนื่องจากพื้นที่แม่สายไม่เหมือนที่อื่นเพราะมีลมตะวันเฉลียงใต้พัดมาประกอบกับมีสันเขาดอยนางนอน และดอยสะโง้ขนาบ 2 ข้าง ทำให้มีช่องลมพัดมาและเกิดกระะแสวนทำให้ควันไม่ไฟไหน บางจังหวะจึงมีหมอกควันพุ่งขึ้นสูงมาก ทั้งที่ในพื้นที่แทบไม่มีจุดฮอตสปอตเกิดขึ้นเลย จึงเชื่อกันว่าหมอกควันส่วนใหญ่จะต้องมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแม่สายมีชายแดนติดกับประเทศเมียนมา ในระยะที่ผ่านมามีการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมาจำหน่ายในพื้นที่และส่งออกประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก ประกอบกับการงดเก็บภาษีนำเข้าเป็นศุนย์บาท ทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่ม จากข้อมูลการศึกษาของอาจารย์มหาลัยในเชียงรายพบว่าในภาคเหนือของไทยมีพื้นที่ปลูกกว่า 2 ล้านไร่ ในเมียนมาประมาณ 3 ล้านไร่ และในลาว มีไม่ต่ำกว่า 5 ล้านไร่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จุดฮอทสปอตและหมอกควันในประเทศเพื่อนบ้านมีสูงจนส่งผลกระทบมายังฝั่งไทย
นายชัยยนต์กล่าวว่าในฐานะผู้บริหารท้องถิ่นไม่มีอำนาจอะไรเลยที่จะเข้าไปจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ จึงงมีการร้องขอไปยังรัฐบาลกลางหรือผู้มีอำนาจ ให้มีการชะลอการนำเข้าข้าวโพดณปัจจุบันตอนนี้เลย เพื่อศึกษาผลกระทบ แม้จะกระทบต่อผู้ประกอบการการผลิตอาหารสัวต์บ้างแต่ก็อยากให้บริษัทหรือผู้ได้รับประโยชน์เหล่านี้มองเห็นปัญหาและเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนบ้าง เพราะชาวบ้านทนกับปัญหานี้มานับ 10 ปี แและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากให้รัฐบาลหรือผู้ประกอบการต่างๆ เข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ก่อนแล้วค่อยผ่อนปรณในการนำเข้าในอนาคต
นายชัยยนต์กล่าวด้วยว่านอกจากนี้อยากให้รัฐบาลชุดหใม่ที่กำลังจะมีการเลือกได้ผลักดันกฎหมายเหมือนประเทศสิงคโปร ซึ่งมีบทลงโทษผู้สร้างมลภาวะ รวมถึง พรบ.อากาศสะอาด เห็นมีหลายพรรการเมืองพูดถึงกันอยู่ ซึ่งก็อยากให้มีการดำเนินการจริงๆ ขอให้ทางคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดมาตรการช่วยเลหือหรือวิธีปฎิบัติ ซึ่งทราบเพียงว่ามีค่าเกินมาตรฐาน 50 ไมโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เช่นที่มีสายมีค่าเกิน 500 นานกว่าสัปดาห์ แต่ท้องถิ่นเองไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไร มีการประกาศภัยอย่างไร มีการช่วยเหลืออย่างไร พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณลงมาช่วยเหลือลำพังท้องถิ่นสามารถอนุมัติงบจำซื้อหน้ากากอนามัยแแจกจ่ายได้ในวงเงินจำกัด และได้เพียงบางกลุ่ม ซึ่งอาจเปลี่ยนคำจำกัดความกลุ่มเสี่ยงซึ่งไม่เพียงแต่ผู้เปราะบาง คนสูงอายุ เด็ก สตรีมีครรถ์หรือผู้มีโรคประจำตัว คนทุกคนควรเป็นกลุ่มเสี่ยงหากค่าฝุ่นควันสูงก็ควรได้รับการช่วยเหลือทุกคน รัฐบาลควรกำหนด ระเบียบ มาตรการและวิธีปฎิบัติกมาให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นดำเนินการได้ ประชาชนก้ได้รับรู้สิทธิ์ของตนเอง ชาวบ้านบ่นว่าทำไมต้องวื้อยาแก้แพ้เอง ทำไมต้องซื้อหน้ากากเอง แม้แต่เครื่องฟอกอากาสรัฐบาลสามารถจัดสรรเครื่องฟอกอากาศในราคาทุนได้ พื่อให้ชาวบ้านที่ยากจนเข้าถึงระบบป้องกันสุขภาพได้อย่างทั่วถึง
ณัฐวัตร ลาพิงค์/เชียงราย
0882692681
Discussion about this post