ที่หอประชุมไพรพะยอม มหา วิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี บรรยากาศวันแรกของการรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ในช่วงเช้า ปรากฏว่าได้รับความสนใจจาก ผู้สมัคร ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ ยื่นเอกสารหลักฐานต่อ กกต.ประจำเขตเลือกตั้ง รวมทั้งบรรดากองเชียร์ ผู้สนับสนุนผู้สมัคร มารอให้กำลังใจจำนวนมาก โดยนายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวให้กำลังใจเจ้าหน้าที่รับสมัคร และ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และร่วมเป็นเกียรติในการรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดอุบลราชธานี ตามที่ได้มีประกาศพระราชกฤษฏีกา ยุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ.2566 โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นวันเลือกตั้ง และกำหนดให้วันที่ 3-7 เมษายน 2566 เป็นวันรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ทั้งนี้บรรดาผู้ประสงค์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในระบบแบ่งเขต ประกอบไปด้วยพรรคการเมืองขนาดใหญ่ อาทิ พรรคเพื่อไทย นำโดยนายเกรียง กัลป์ตินันท์ แกนนำพรรคในอีสานใต้ ประชาธิปัตย์ นำโดยนำศุภชัย ศรีหล้า รองเลขาธิการพรรค พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคไทยสร้างไทย และก้าวไกล และพลังประชารัฐ มาก่อนเวลาเปิดรับสมัครในเวลา 08.30 น. เพื่อให้ได้เลขประจำตัวผู้สมัครเป็นเลขหลักเดียว เพราะประชาชนที่มีสิทธิลงคะ แนนจะได้จำหมายเลขของผู้สมัครได้ง่าย


ซึ่งพรรคภูมิใจไทย พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย ก้าวไกล เสรีรวมไทย ส่งผู้สมัครครบทั้ง 11 เขต ขณะที่พรรคเพื่อไทรวมพลัง สมัคร 2 เขต ไทยสร้างไทย สมัคร 9 เขตคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ต้องตัดสินด้วยการให้จับสลากหมายเลขประจำตัวผู้สมัครของแต่ละพรรคในแต่ละเขตเลือกตั้ง ส่วนผู้สมัครที่มาหลังเวลาเปิดรับสมัคร ก็ได้เลขประจำตัวผู้สมัครในเลขลำดับเรียงต่อกันมาภายหลังจากยื่นเอกสารต่างๆครบถ้วนและได้หมายเลขประจำตัว แล้ว จากนี้ต่อไป ผู้สมัคร ส.ส. จะลงพื้นที่ทำการหาเสียง เพื่อนำเสนอนโยบายให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อพิจาร ณาเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค.2566สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี การเลือกตั้งครั้งนี้มี 11 เขตเลือกตั้ง จากเดิมมี 10 เขตเลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งปี 2562 พรรคเพื่อไทยมี ส.ส.ทั้งสิ้น 7 คนจาก 7 เขต พรรคประชาธิปัตย์มี 2 คนจาก 2 เขต และพรรคพลังประชารัฐมี 1 คน จากเขต 1 เขตเลือกตั้งการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จะเป็นการต่อสู้กันระหว่างพรรคเพื่อไทย และภูมิใจไทย โดยมีพรรคไทยสร้างไทย ประชาธิปัตย์ และพลังประชารัฐ เป็นตัวสอดแทรกชิงที่นั่ง ส.ส.ในบางเขตเลือกตั้ง.
Discussion about this post