
ที่หมู่บ้านเอื้ออาทรระยอง(วังหว้า)ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดม ศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิด “U2T for BCG บทเรียนจากอดีตสู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” กิจกรรมภาคต่อโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสั มพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG
สำหรับพื้นที่ ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง เป็นหนึ่งพื้นที่เป้าหมายภาคตะวันออกที่ อว.ลงพื้นที่จัดแสดงสินค้าออกสู่ตลาดผู้บริโภค ขยายโอกาสเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์ และ ออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการต่างๆ นับตั้งแต่เริ่มโครงการ จนกระทั่งปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ข้อดี ข้อเสีย เพื่อนำมาปรับปรุงโครงการและชุมชมให้เกิดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิ ผลในอนาคต
งานเสวนาหัวข้อ “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีวันออก ตัวแทนจากวิทยาเขตทั้ง 4 วิทยาเขต ผู้ประกอบการ ตัว แทนจาก U2T เข้าขับเคลื่อน U2T ระยองและจังหวัดใกล้เคียง จนได้ผลผลิตภูมิปัญญาชุมชนนำมาส่งเสริมผลิตออกจำหน่าย ปัญหาที่พบบ่อยรวมถึงวิธีการแก้ไขเพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปต่อยอด ผลงาน U2T for BCG ที่นำมาจัดแสดงมากมาย ทั้งสินค้าทางการเกษตร พืชผัก เครื่องจักสาน ผลิต ภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร ตัวอย่างที่สินค้าที่ได้รับการพัฒนาแล้ว เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางวัตถุดิบให้
ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดม ศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัต กรรม (อว.) กล่าวว่า “ภายหลั่งจากที่เริ่มโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ โครงการ U2T ถือว่าบรรลุวัตถุประสเศรษฐ กิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัย ในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ System Integrator การจ้างงานการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้อง การของชุมชน การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน Commu nity Big Data
โดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator มีการจ้างงานประชา ชนทั่วไป บัณฑิตใหม่ และนักศึก ษา มีงานทำ และ พื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ซึ่งการถอด บทเรียนครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นทั้งมุมมองที่ประ สบความสำเร็จ และด้านที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นถิ่นก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการได้จัดเสวนา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม สำหรับปีงบประ มาณ 2566 กระทรวงการอุดม ศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.)ยังคงมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต และบริการด้าน BCG เพื่อให้สมบูรณ์ครบทุกพื้นที่ต่อไป.
Discussion about this post