นครพนม ได้มีการจัดและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการศึกษาและดำเนินงาน ในการขอขึ้นทะเบียนพระธาตุพนม วรมหา วิหาร เป็นมรดกโลกทางวัฒน ธรรมตลอดระยะหลายปีที่มา กระทั่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และสั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม เสนอองค์พระธาตุพนมเข้าสู่บัญชีเบื้องต้น หรือที่เรียกว่า Tentative List เพื่อนำเสนอเป็นแหล่งมรดกโลก จึงทำให้บัญชีของพระธาตุพนมถูกขึ้นทะเบียนของยูเนสโกเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งหลักเกณฑ์ที่ใช้นำเสนอในขณะนั้นมี 3 หลักเกณฑ์ คือ หลักเกณฑ์ที่แรก เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์ , หลักเกณฑ์ที่สอง เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมา ในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรมสวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งทางวัฒนธรรม และหลักเกณฑ์ที่ 3 มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
สำหรับความคืบหน้าจากการยื่นขอในขณะนี้ กำลังเข้าสู่กระบวน การขั้นตอนการดำเนินการจัดทำเอกสารฉบับสมบูรณ์ (The Nomi nation File) เพื่อรับประเมินจากคณะกรรมการมรดกโลก(ยูเนสโก) ในการเสนอชื่อเพื่อขอขึ้นบัญชี World Heritage List Nominations Process ตามขั้นตอนที่ยูเนสโกกำหนด ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกประมาณ 3 ปี เนื่องจากจะต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ เอกสารวิจัยด้านประวัติศาตร์และโบราณคดี การบริหารมรดกโลก อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า จะต้องรอกระบวนการพิจารณาในอีกหลายประเด็นจากคณะกรรม การของยูเนสโก แต่ถ้าหาก พระธาตุพนมถูกประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม นับว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวัดพระธาตุพนมฯ ทันที ซึ่งประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงจะต้องเตรียมตัวรับมือในการเป็นเจ้าบ้านต้อนรับผู้มาเยือนจากทั่วทุกมุมโลกที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้น จะทำอย่างไรให้ความประทับใจและความทรงจำเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวที่มา ซึ่งทุกหน่วยงานทุกภาคส่วนจึงต้องเร่งร่วมมือกันวางแผนบริหารจัดการระบบในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องให้พร้อมกับการขึ้นเป็นมรดกโลกของ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร ที่จะเกิดขึ้นโดยเร็ว.
Discussion about this post