วันที่ 28 พค.66 ที่วัดรัตนเนตตราราม ต.สำพันตา อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี นายธรรมรัฐฐ์ งามแสง นายอำเภอนาดี เป็นประธานเปิดงานสืบสานบุญบั้งไฟโดยมีสภาวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี อ.นาดี อปท.กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านประชาชนร่วมงานสืบสานประเพณีงานบุญบั้งไฟ ชาวบ้านร่วมกันทำบั้งไฟมาจุดขอฝนเป็นความเชื่อของประเพณีบุญบั้งไฟ ปรากฏอยู่ใน ตำนานเรื่องพญาคันคากและเรื่องผาแดงนางไอ่ มีการกล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน โดยเฉพาะในเรื่องพญาคันคาก ซึ่งตำนานนั้นมีอยู่ว่า…
พญาคันคาก เป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ เหตุที่ได้ชื่อว่า “พญาคันคาก” เป็นเพราะเมื่อครั้งประสูติมีรูปร่างผิวพรรณเหมือนคางคก หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า คันคาก และถึงแม้พระองค์จะมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่พระอินทร์ก็คอยช่วยเหลือ จนพญาคันคากเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน จนลืมที่จะเซ่นบูชาพญาแถน พญาแถนจึงโกรธ ไม่ยอมปล่อยน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์
จึงเกิดศึกการต่อสู้ระหว่างพญาคันคากและพญาแถนขึ้น โดยพญาคันคากได้นำทัพสัตว์ต่างๆ ขึ้นไปรบ จนได้รับชัยชนะ พญาแถนจึงปล่อยให้ฝนตกลงมาเช่นเดิม แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเป็นประจำทุกปี จึงเป็นที่มาว่าชาวอีสานจึงทำบั้งไฟจุดขึ้นบนฟ้าถวายพญาแถน เพื่อฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาล
การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟนั้น ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในภาคอีสาน โดยมีหลายที่ทั้ง ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองคาย มหาสารคาม ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู เลย อำนาจเจริญ นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดปราจีนบุรีเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่นำประเพณีบุญบั้งไฟมาจุดเพื่อขอฝนตามความเชื่อโดยการริเริ่มของพระครูรัตนเขตตาภิรม เจ้าอาวาสวัดรัตนเนตตราราม ต.สำพันตา อ.นาดี.จ.ปราจีนบุรี (วัดล้านหอย) กล่าวว่าบุญบั้งไฟเป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของชาวบ้านที่จัดสืบทอดกันมาจากรุ่นพ่อแม่ ทางวัดผู้นำท้องถิ่นท้องที่ชาวบ้านรวมตัวกันออกมาสืบสานประเพณี เพื่อให้บรรดาญาติโยมได้จุดบั้งไฟขอฝนจากเทพเทวดาชั้นฟ้าเพื่อฝนจะได้ตกลงมาตามคำขอ ชาวนาชาวไร่จะได้มีน้ำใช้เพื่อการทำการเกษตร เชื่อกันว่าบั้งไฟถูกจุดขึ้นสู่ท้องฟ้าสูงเท่าใดเทวดาจะให้ฝนมากเท่านั้นขณะทำพิธีเปิดงานเกิดฝนตกลงมานานกว่าครึ่งชั่วโมง ภายในงานการแข่งขันแข่งขันฟุตบอล ปิดตาจับหมู และแข่งขันรถมอเตอร์ไซค์วิบากวิบาก
Discussion about this post