วันที่ 30 พ.ค.66 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง พี่น้องชาวแม่สะเรียง ได้ร่วมเดินขบวนชูป้ายแสดงจุดยืนไม่เอาโรงโม่หิน อย่างเด็ดขาด โดยกลุ่มพลังมวลชนได้เดินถือป้ายคัดค้านการขอประ ทานบัตรเหมืองแร่ ไปรอบที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง หลังจากนั้น นายทองทิพย์ แก้วใส ตัวแทนพี่น้องชาวอำเภอแม่สะเรียง ได้อ่านข้อกังวลและเหตุผลของการแสดงเจตจำนง แล ะยื่นเอกสารการลงชื่อของราษฏรที่ร่วมคัดค้านการออกประทานบัตรโรงโม่หิน ให้กับ นายสุรเชษฐ์ พุ้ยน้อย นายอำเภอแม่สะเรียง รับหนังสือการคัดค้านของพี่น้องประชาชนคนแม่สะเรียง พร้อมระบุ ว่า ทางอำเภอแม่สะเรียงจะส่งเรื่องของการคัดค้านไปยังจังหวัดแม่ฮ่อง สอน และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเบื้องต้นทาง ผู้ว่าแม่ฮ่องสอน ได้ทราบเรื่องนี้แล้ว
ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้เกิดจาก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทางอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มี ประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง ขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ โดยทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มอุตสาห กรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ทำการประกาศให้ทราบทั่วกัน ในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน รอบแนวเขตการขอประทานบัตร ประกอบไปด้วย บ้านโป่งดอยช้าง บ้านท่าข้ามใต้ ต.บ้านกาศ และ บ้านแพะ ต.แม่สะ เรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยปิดประกาศให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบโดยทั่วกันเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องด้วยเหตุประการใดคัดค้านคำขอประทานบัตรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ปิดประกาศ นั้น ทางชาวบ้านซึ่งเล็งเห็นถึงปัญหาต่างๆ จึงได้มีการนัดรวมตัวเพื่อทำการคัดค้านไม่ให้เกิดโรงโม่ขึ้นในพื้นที่
ทั้งนี้เนื้อหาสาระ ของการคัดค้านการยื่นขอประทานบัตรเหมืองแร่ ซึ่งทางประชาชนต่างตระหนักดีว่าจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีต่อชุมชนหากมีการทำเหมืองแร่ขึ้นมา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ 10 ข้อที่เป็นสิ่งกังวลของพี่น้องประชา ชน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของทรัพยา กรป่าไม้ ธรรมชาติ แหล่งน้ำ มลภาวะทางเสียงที่จะส่งผลกระทบต่อบ้านเรือน สถานศึกษา สุขภาพเด็กนักเรียน มลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละออง จากการระเบิดแร่และการโม่หิน ซึ่งมลภา วะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้ ชาวอำเภอแม่สะเรียงส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะหากการสัมป ทาน อายุ 30 ปี มีผลกระทบต่อส่วนราชการและเอกชนในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา วัดวาอาราม ศาสนสถานต่างๆ เส้นทางการคมนาคม หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เราชาวอำเภอแม่สะเรียงผู้ที่ได้ รับผลกระทบจากการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมการก่อ สร้าง จึงขอคัดค้านการทำสัมป ทานโรงโม่หินของ บริษัทเชียงใหมโรงโม่หิน จำกัด ที่ได้ยื่นหนัง สือขอประทานบัตรการทำเหมืองแร่กับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภา คม 2566 ที่ผ่านมา
สำหรับพื้นที่การขอประทานบัตร ตามใบอนุญาตขอทำเหมืองแร่อยู่ในพื้นที่เขตรอยต่อระหว่าง บ้านโป่งดอยช้าง ต.บ้านกาศ และบ้านแพะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่อง สอน บนเนื้อที่ 132-0-97 ไร่ เป็นพื้นที่ขอประทานบัตร 1/2565 ชนิดแร่หินอุตสาหกรรม ชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้าง) ซึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ทางบริษัทได้ลงพื้นที่ บ้านโป่งดอยช้าง เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อห่วงใยชาวบ้านในรัศมีการดำเนินการของเหมืองแร่ในรัศมี 500 เมตร โดยทีมงานวิศวกรเมืองแร่ของบริษัทฯ โดยระบุว่าพื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรมตามประ กาศกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ไม่มีแหล่งโบราณคดี หรือแหล่งธรรมชาติอันควรอนุ รักษ์ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 และ 3 ซึ่งการลงพื้นที่ในห้วงเวลาดังกล่าวทางชาวบ้านก็ได้แสดงออกชัดเจนว่าไม่เอาโรงโม่หินแน่นอน.
Discussion about this post