สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ (สพม.ชัยภูมิ) เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านการจัด การศึกษา ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 37 โรงเรียน โดยภายใต้การบริหาร ของ ดร.ชัยวัฒน์ ตั้งพงษ์ ผอ.สพม.ชัยภูมิ ซึ่งได้กำ หนดทิศทางการจัดการศึกษาของสำนักงาน ดังวิสัยทัศน์ “สร้างคนดี มีปัญญา พึ่งพาตนเอง” มีรูปแบบการพัฒนาจัดการศึกษาของสำนักงานเขต สถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนของครู ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ภายใต้รูปแบบแนวคิด “NEW AIM+LAM MODEL” ซึ่งต้องการให้ -(สุข)ผู้รับบริการมี ความสุข-(สำเร็จ)โรง เรียนมีคุณภาพ เขตเป็นเลิศ นัก เรียนดี และ (ปลอดภัย) การพัฒนาอย่างยั่งยืน
“NEW AIM+LAM MODEL” เป็นกระบวนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ขั้นที่1 วิเคราะห์บริบท (Area analysis = A) ขั้นที่ 2 การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาด้วยระบบประกันคุณภาพการศึกษา (Internal educational assu rance system =I ) และ ขั้นที่3 ความสำเร็จและความภาคภูมิใจ (Masterpiece=M)
สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ยังได้มีนวัตกรรมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณ ภาพศึกษาสู่ความเลิศของสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาชัยภูมิ “เสริม สร้าง สุข” หรือ +LAM ดังนี้ เสริม (L+) -เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss Recovery) ,สร้าง (A+) -ผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) , *สุข (M+) -ด้วยระบบมาตรฐานความปลอด ภัย (MOE Safety Platform)
ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ดร.ชัยวัฒน์ ตั้งพงษ์ ผอ.สพม.ชัยภูมิ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะศึกษานิเทศก์ ยังได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “นวัต กรรมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ” เพื่อสร้างโรงเรียนต้นแบบในการจัดสร้างนวัตกรรมการจัดการศึกษาให้สอดรับนโยบายเร่งด่วน สพฐ.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยได้เชิญ นายนพดล กาญจนางกูร ผอ.โรงเรียนหนอง บัวแดงวิทยา มานำเสนอผลการบริหารจัดการของโรงเรียนหนอง บัวแดงวิทยา ตามวิสัยทัศน์ “โรง เรียนหนองบัวแดงวิทยา มุ่งมั่นจัดการศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน อย่างเต็มศักยภาพ โดยใช้รูปแบบ “อารยวิถี” นำพาสู่มาตร ฐานสากลน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” รูปแบบ “อารยวิถี” หมายถึงแนวทางไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง มีทั้งหมด 7 แนวทาง ที่เรียกว่า “SCLAPVA” ดังนี้ 1) ยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้มีมาตร ฐาน 2)พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน 3)ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ 4)เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการสถานศึกษา 5)ส่งเสริมพัฒนาผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีมาตรฐาน 6) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกที่สนับสนุนการจัดการศึกษา และ 7)สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
โดยมีวงจรคุณภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมขับเคลื่อน SCLAPVA อันประกอบด้วย 1)ร่วมระดมความคิด 2) ร่วมวางแผน 3) ร่วมดำเนินงาน 4)ร่วมติดตามประเมินผล 5)ร่วมแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา 6)ร่วมชื่นชมผลสำเร็จ การดำเนินการจะส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพ 3 ด้าน ทั้งด้านที่ 1) ด้านการศึกษา นักเรียนมีผลผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 2) คุณ ลักษณะอันเพิ่งประสงค์ (มีพัฒนาตน พัฒนาการทำงาน และการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม) และ 3) ด้านความสามารถพิเศษ และที่สำคัญส่งผลให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร โรงเรียนได้รับรางวัลต่าง ๆ อีกทั้งผู้เรียนยังมีความสามารถในการประกอบอาชีพและสอบเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นอีกด้วย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ จึงมีความมุ่งหวังในการนำนวัตกรรมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สถานศึกษาในสังกัดสามารถจัดการศึกษาให้ดีและมีคุณภาพผ่านระบบบริหารและการจัดการศึกษา อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตอบสนองเป้าหมายในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อพฒนาองค์กร สถานศึกษา ผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สืบไป.
Discussion about this post