เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 นางสาวจันทร์เพ็ญ คำเหลือง ประธานศูนย์เรียนรู้และจำหน่ายผ้าทอกะเหรี่ยงครบวงจรบ้านค้างใจ หมู่ 7 ตำบลแม่เกิ๋ง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯด้วยรถตู้ ที่เดินสายมาท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ และจังหวัดแพร่ได้แวะมาเยี่ยมชมสินค้าชุมชนที่ศูนย์เรียนรู้และจำหน่ายผ้าทอกะเหรี่ยงครบวงจรบ้านค้างใจ
นางสาวจันทร์เพ็ญ คำเหลือง บอกว่า วันนี้มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม , ศูนย์เรียนผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านค้างใจ,ได้ขายผ้าทอกะเหรี่ยงทีมงานดีใจที่มีรายได้อาชีพเสริมค่ะ, ขอบคุณคุณลูกค้า, ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ และทราบจากนักท่องเที่ยวบอกว่า ชื่นชอบผลิตภัณฑ์ชุมชนของผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านต้างใจ จึงแวะมาอุดหนุน เพื่อเป็นสนับสนุนให้พี่น้องชาวกะเหรี่ยง แรกทราบว่า ชาวกะเหรี่ยงบ้านค้างใจต้องการ สืบสานอัตลักษณ์เอกลักษณ์ของชุมชนให้อยู่กับชุมชนแบบยั่งยืนด้วย
สำหรับศูนย์เรียนรู้และจำหน่ายผ้าทอกะเหรี่ยงครบวงจรบ้านค้างใจ หมู่ 7 ตำบลแม่เกิ๋ง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ ในจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ชาวบ้านชาวกะเหรี่ยง มีรายได้ จากการทำอาชีพผ้าทอกะเหรี่ยง มีความเป็นอยู่ ดีขึ้นกว่าเดิมมาก และในฐานะตัวแทนชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านค้างใจ หมู่ 7 ตำบลแม่เกิ๋ง มีความภาคภูมิใจที่เกิดเป็นกะเหรี่ยง พวกเราชาวกะเหรี่ยงบ้านค้างใจ มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะรักษาอัตลักษณ์เอกลักษณ์ ของชุมชนให้อยู่กับชุมชนต่อไปอย่างยั่งยืนซึ่งที่ผ่านมาได้มีการนำความรู้ทั้งหมด ไปสอนให้กับ เด็กๆในโรงเรียน และไปสอนให้กับกลุ่มแม่บ้านต่างๆในเขตพื้นที่ตำบลใกล้เคียง ให้มีการสืบสานอัตลักษณ์เอกลักษณ์ของชาวกะเหรี่ยง ให้มีความยั่งยืน ต่อไป
จันทร์เพ็ญ คำเหลือง บอกอีกว่า ที่ผ่านมาทางกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงฯ มีส่วนร่วมในการผลักดันให้โรงเรียนบ้านค้างใจได้กลับมาเรียนที่โรงเรียนบ้านค้างใจเหมือนเดิม และขึ้นก่อนหน้านั้นได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอื่น สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ปกครองในการรับส่งเป็นอย่างมาก จึงได้นำเรื่องนี้ไปหารือกับ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ในสมัยนั้น (และปัจจุบันท่านเป็นอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง) ไปทางผอ.สพป.เขต 2 และนายกอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และหน่วยงานอีกหลายหน่วยงาน ในที่สุดก็ได้โรงเรียนกลับคืนมากับชุมชนอย่างที่เห็นปัจจุบันนี้
ในฐานะคณะกรรมการสถานศึกษาและตัวแทนของชาวบ้านต้องขอขอบคุณทางผู้บริหารระดับสูง ที่ได้เห็นความสำคัญของพี่น้องชาวบ้านค้างใจ ซึ่งเป็นชุมชนกะเหรี่ยง ที่ทุกคนมีความต้องการอยาก รักษาอัตลักษณ์เอกลักษณ์ของกะเหรี่ยงบ้านค้างใจและมีการสืบสานอัตลักษณ์เอกลักษณ์ของกะเหรี่ยงอยู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
Discussion about this post