
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กลุ่มทอผ้าบ้านวังม่วง หมู่ 5 ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม นายสมศักดิ์ บุญจันทร์ นายอำเภอปลาปาก พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ผู้นำชุมชนและสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านวังม่วง หมู่ 5 ตำบลมหาชัย ให้การต้อนรับคณะติดตามสนับสนุนทีมอำเภอโซนกลาง นำโดยนายชัยณรงค์ กาญจนะกันโห พัฒนาการจังหวัดนคร พนม นายพรชัย ผาคำ ธนารักษ์พื้นที่นครพนม นายพัฒน์ธวัตร์ เอี่ยมสุข ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม นายอภิชัย ฤทธิ์วรรณ์ ผอ.ส่วนสิ่งแวดล้อมสำนัก งานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครพนม นางสาวอรรวรรณ ต้นงาม นักวิชาการมาตรฐานอุตสาหกรรมจังหวัดนครพนม และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม ลง พื้นที่ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการทอผ้าลายพระ ราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”สืบสาน อนุรักษ์ ปลุกกระแสผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล พร้อมดึงรายได้เข้าสู่ชุมชน เสริมสร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจฐานราก และส่งเสริมพัฒนาผ้าไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงศึกษาค้นคว้าผ้าลวดลายโบราณจากทุกภูมิภาคของประเทศ ทรงนำมาออกแบบผสมผสานกับ “ลายดอกรัก” ที่สื่อถึงความรักและกำลังใจ และสร้างสรรค์ขึ้นเป็น “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” ประเภทผ้ามัดหมี่ พระราชทานเป็นของขวัญแก่ช่างทอผ้าทุกกลุ่มทุกเทคนิค เยาวชนคนรุ่นใหม่ และชาวไทยทุกคน ที่มุ่งมั่นสืบ สานและต่อยอดภูมิปัญญาและงานหัตถศิลป์พื้นถิ่นให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดินไทยอย่างยั่งยืน เนื่องในโอกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา ทั้งนี้กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดให้มีการประกวดลายผ้าพระราช ทาน และรับสมัครระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 4 สิงหาคม 2566 และส่งเสริมกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้นำพืชและไม้ในพื้นถิ่นมาย้อมเป็นสีธรรมชาติ ใช้เส้นไหมเส้นฝ้ายธรรมชาติ ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกฝ้าย เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและรักษาสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นการพัฒนาภูมิปัญญาผ้าไทย เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความเจริญอย่างยั่งยืน โดยอำเภอปลาปาก มีเป้าหมายการส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวดจำนวน 15 ชิ้นงาน โดยมีนายธวัช ภักดี พัฒนาการอำเภอปลาปาก นางสาวมณฑิรา ดวงดีแก้ว นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ ร่วมในการต้อนรับคณะติดตามฯ
คณะติดตามฯ ได้ให้คำแนะนำกลุ่มทอผ้าบ้านวังม่วงในด้านเทค นิคการย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบของด่างที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน พร้อมทั้งการพัฒนาคุณภาพของเส้นฝ้ายให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิต ภัณฑ์ชุมชน และสร้างอัตลักษณ์และความโดดเด่นของท้องถิ่นผสานกับลายดอกรักราชกัญญาเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม.
Discussion about this post