
วันที่13 มิ.ย.66 ที่ห้องประชุมที่ว่า การอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ ฮ่องสอน นาย เชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน นายเรืองฤทธิ์ ผลดี หัว หน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดการฝึกศูนย์บัญชาการเหตุ การณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนกรณีแผ่นดินไหว ให้กลุ่มมเป้าหมายประกอบด้วย ผู้อำนวยการอำเภอ ผู้อำนวยการท้องถิ่น และเจ้าหน้า ที่ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณภัย พร้อมทั้ง หน่วยงานในกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 150 คน
นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราช การจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ปัจจุบันโลกเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยพิบัติอันสืบเนื่องจากการกระทำของมนุษย์บ่อยครั้งและทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ โดยการเกิดขึ้นของภัยสร้างความสูญเสีย ทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลจนมิอาจประเมินมูลค่าได้ ซึ่งพิบัติภัยแต่ละครั้งแต่ละเหตุการณ์ถือเป็นภาวะวิกฤตหรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความชับซ้อน มีปัจจัยของสถาน การณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่คงที่ เวลาในการตอบโต้กับสถานการณ์มีอยู่อย่างจำกัด จึงต้องแข่งกับเวลาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้รวดเร็วที่สุดและต้องควบคุมมิให้สถานการณ์ลุกลามส่งผลกระทบต่อเนื่อง การจัดการเหตุการณ์ภัยพิบัติ จึงต้องตัดสินใจภายใต้ภาวะจำกัดในทุกด้านบนพื้นฐานของขอบเขต อำนาจหน้าที่ ตามระเบียบกฎหมายที่กำหนด ทั้งนี้ เครื่องมือการบริหารจัดการหนึ่งที่เหมาะสมต่อการจัดการในภาวะวิกฤต หรือภาวะ ฉุกเฉินคือ ระบบบัญชาการเหตุ การณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดในการสั่งการ ควบคุม และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณภัยระบบดังกล่าวเป็นระบบปฏิบัติการเพื่อการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินให้สามารถปกป้องชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมได้อย่างบรรลุเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ จากการตระหนักถึงความสำคัญของระบบบัญชาการเหตุการณ์ในการในการจัดการภาวะฉุกเฉินที่เป็นภาววิกฤติ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงได้นำแนวคิดและหลักการของระบบบัญชาการเหตุการณ์มาบรรจุไว้เป็นหลักการสำคัญของการจัดการในภาระฉุกเฉิน ภายใด้ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการในภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ รวมทั้งกำหนดให้นำระบบบัญชาการเหตุการณ์มาใช้ในการบัญชาการและเป็นเครื่องมือในการสั่งการ ควบคุมและประสานความร่วมมือของถาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการเหตุการถและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งให้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดทำแผนเผชิญเหตุแผ่นดินไหว ในแต่ละระดับให้สอดคล้องกับคู่มือบัญชา การเหตุการณ์สำหรับผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีแผ่นดินไหว และนำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564- 2570 ไปสู่การปฏิบัติทุกระดับพร้อมทั้ง ให้ทดสอบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามแผนเผชิญเหตุฯแต่ละระดับ ให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยจากแผ่นดินไหวสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงการฝึกศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการฝึกในรูปแบบการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercse: T1X) การฝึกในสถานการณ์สมมติ แบ่งออก เป็น 3 ระยะคือ ระยะเตรียมความพร้อม ระยะเมื่อเกิดภัย ระยะเมื่อภัยยุติและการฟื้นฟูบูรณะ.
Discussion about this post