
วันที่ 14 มิถุนายน 2566 ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ นายนิรัตน์พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการอบรมส่งเสริม
และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุข : กิจกรรมอบรมให้ความรู้แนวทางปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) และการจัดตั้งหน่วยบริการประจำ รพ.สต.ในสังกัด อบจ.มีนายพิชัย เลิศพงษ์อดิศร หรือ ส.ว.ก๊อง
นายก อบจ.เชียงใหม่ นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) พญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1 เชียงใหม่ พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้อำนวยการ รพ.สต. เข้าร่วมกว่า 150 คน
นายพิชัย กล่าวว่า นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เร่งรัดการถ่ายโอน รพ.สต.ให้ อบจ. 49 จังหวัด ตามนโยบายกระจายอำนาจแล้ว ซึ่งเชียงใหม่ เป็นจังหวัดนำร่อง หรือโมเดลถ่ายโอนดังกล่าว
ซึ่งปี 65 รับถ่ายโอน 62 แห่ง ปี 66 รับถ่ายโอน 7 แห่ง รวม 69 แห่ง โดยนำรองการรักษาแพทย์ทางไกล หรือเมดิคอลเทเลซีน ที่ รพ.สต. โป่งแยง อ.แม่ริม เป็นแห่งแรกซึ่งแพทย์สามารถตรวจรักษา และวินิจฉัย
โรคทั่วไปได้กว่า 90 % ที่เหลือเป็นโรคที่มีความซับซ้อนอีก 10 %
นอกจากนี้มีแผนการจัดตั้งหน่วยบริการประจำ รพ.สต. หรือ CUP 10 แห่ง ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัช แล็ป คลังยา และส่งต่อแบบครบวงจร พร้อมออกหน่วยบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางดูแลรักษาสุขภาพประชาชนที่อยู่ห่างไกล เพื่อให้เข้าถึงบริการสาธารณสุข สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ภายใต้งบประมาณ อบจ.ปีละ
1,600 ล้านบาท
ขณะนี้รับถ่ายโอนบุคลากรทางการแพทย์เข้าสู่ อบจ. กว่า 400 คน และเปิดรับพยาบาลใหม่อีก 70 คน พร้อมพัฒนาปรับปรุงCUP นำร่อง 4 แห่ง วงเงินกว่า 14 ล้านบาท และซ่อมแซมจากเหตุวาตภัย อีก 4 ล้านบาท ส่วนการของบสนับสนุนจาก สปสช. ให้ รพ.สต. แห่งละ 1-2 ล้านบาท ยังไม่ได้รับงบประมาณ ดังนั้นอยากให้รัฐ
บาลใหม่เร่งรัดเบิกจ่ายดังกล่าวโดยเร็วเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนบริการประชาชน
นายพิชัย กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลกระจายอำนาจถ่ายโอน รพ.สต.ให้ อบจ.เต็มรูปแบบ ทั้งภารกิจ บุคลากร และงบประมาณ โดยเฉพาะการรักษาดูแลสุขภาพแบบเมดิคอลเทเลซีน ที่เป็นโครงข่ายใยแมงมุม เพื่อลดแออัดใช้บริการที่โรงพยาบาล และขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ เพราะแพทย์ลาออกไปทำงานโรงพยาบาลเอกชนหรือเปิดคลีนิคส่วนตัว กว่า 30 % ซึ่งการรักษาแบบแพทย์ทางไกลสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้นอยากฝากสมาคม อบจ.แห่งประเทศไทย นำเรื่องดังกล่าวพูดคุยหารือกับนายพิธา ลิ้ม
เจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.)ว่าที่นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ที่จะประชุมกับ 3 องค์กรท้องถิ่น ในวันที่ 15-16 มิถุนายนนี้ด้วย
ด้านนายเลอพงศ์ กล่าวว่า คณะกรรม
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เน้นย้ำ
การถ่ายโอน รพ.สต. ให้ อปท.มีภาระ
น้อยที่สุด และขอให้สำนักงบประมาณเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณให้ รพ.สต.โดยเร็ว คาดการถ่ายโอน รพ.สต.ให้อบจ. ทั่วประเทศแล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี ข้างหน้า
Discussion about this post