เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 27 มิถุนายน 2566 ณ ห้องนครา แอทไนท์ ชั้น 9 โรงแรมแพร่นครา ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ นายสุชาติ กรวยกิตานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ภาค 5 พร้อมด้วย นายฉัตรชัย วีระเชวงกุล ผู้อำนวยการสำนักงานป.ป.ช. ประจำจังหวัดน่าน นางสาวธัญญาภรณ์ จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดพะเยา นายจรงค์ เกราะเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน นางสาววิยดา พงษ์บูรพา เจ้าพนักงานตรวจสอบทรัพย์ชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานป.ป.ช. ประจำจังหวัดลำปาง นายนิรันดร ศรีภักดี ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเชียงใหม่ นางอรดี ไกรยุทธศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดลำพูน นายเนติพล ขุมยวง ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดเชียงราย และนายศรัณ อภิสิทธิเวช ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ ได้ร่วมกันแถลงข่าวผลการดำเนินงาน ของสำนักงาน ป.ป.ช.ภาค 5และสำนักงานป.ป.ช.ประจำจังหวัดในพื้นที่ภาค 5 ครั้งที่ 7 ประจำเดือนมิถุนายน 2566 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 5 ให้เป็นที่รู้จักสู่สาธารณชนโดยทั่วไป สร้างการรับรู้ในกระบวนการทำงานของ ป.ป.ช. ในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ในส่วนของพื้นที่จังหวัดแพร่ที่ผ่านมา สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 5 ร่วมกับกองกำกับการสืบสวนภาค 5 และกองกำกับการสืบสวนภูธรจังหวัดแพร่ ชุดสืบสวน สภ.สูงเม่น ได้ทำการจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 5 ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดไปก่อนหน้านี้ โดยชุดจับกุมได้สืบสวนจนสามารถจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ในพื้นที่จังหวัดแพร่ ซึ่งผู้ต้องหากระทำความผิดในฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางอาญาและอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องคดีแล้วต้องไปรายงานตัวต่อพนักงานอัยการ เพื่อนำตัวไปส่งฟ้องต่อศาลตามกำหนดนัด หากไม่ไปรายงานตัวตามกำหนดนัดดังกล่าวจะต้องถูกจับกุมเพื่อนำตัวส่งฟ้องศาลต่อไป
นายสุชาติ กรวยกิตานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 5 กล่าวอีกว่า งานปราบปรามการทุจริตป.ป.ช. มีมติ กรณีมีอดีตผู้อำนวยการโครงการชลประทานแพร่กับพวกทุจริตการจ้างแรงงานลูกจ้างชั่วคราวในโครงการปรับปรุงระบบส่งน้ำ พร้อมอาคารประกอบฝ่ายแม่สรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อปี 2553 โดยคณะไต่สวนเบื้องต้น ได้ดำเนินการไต่สวนกรณีกล่าวหาอดีตผู้อำนวยการดังกล่าว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งว่า ทุจริตการจ้างแรงงานลูกจ้างชั่วคราวในโครงการฯ โดยจัดหารายชื่อราษฎรมาเป็นรายชื่อลูกจ้างชั่วคราวในโครงการ ทั้งที่ราษฎรเหล่านั้นไม่ได้ทำงานในโครงการดังกล่าวจริง จากการไต่สวนปรากฎข้อเท็จจริงและฟังได้เมื่อปี 2553 โครงการชลประทานแพร่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากจังหวัดแพร ให้ดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบฝ่ายแม่สรอย เป็นเงินจำนวน 10,136,000 บาท ซึ่งผู้อำนวยการในสมัยนั้น ได้มอบหมายให้นายช่างชลประทานระดับชำนาญงาน ของโครงการชลประทานแพร่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ ในการจ้างงาน พบว่าไปจ้างราษฎร จำนวน 51 คนมาเป็นลูกจ้างชั่วคราว แต่มีลูกจ้างชั่วคราวไปทำงานจริงเพียง 22 คน เมื่อโครงการชลประทานแพร่ได้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้กับราษฎรทั้ง 51 คนแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการและทำการกดเงินของราษฎร จำนวน 29 คนที่ไม่ได้ไปทำงานจริง เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าการกระทำของผู้รับผิดชอบโครงการๆและผู้ร่วมกระทำผิด มีมูลความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงให้ยุติการดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานนี้ และมีมูลความผิดทางวินัยร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
สำหรับอดีตผู้อำนวยการโครงการชลประทานแพร่ จากการไต่สวนปรากฎข้อความจริงว่าได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญาด้วยเช่นกัน และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจดำเนินการไต่สวนต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ 2561 มาตรา 57 จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารระบบ
“การร้องเรียนมากที่สุดคือ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะมากที่สุดทุกจังหวัดเหมือนกันหมด ส่วนการสอบสวนในหน่วยงานของระดับจังหวัดต่างๆมันก็จะมีคละๆกันไป โดยเฉพาะมีเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างเป็นส่วนใหญ่ และในเรื่องของการก่อสร้างถนนหนทางกว่า 80% ในส่วน”คอการเมือง” ของจังหวัดแพร่ เห็นว่า การทำงานของปปช. น่าจะมีมาตรการเข้มข้นให้มากกว่านี้ ซึ่งความล่าช้า ทำให้ขาดความเชื่อถือในการทำงาน และสางผลต่อความมือในทุกกระบวนการด้วย
Discussion about this post