
วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ นายพิชัยเลิศพงษ์อดิศร หรือ ส.ว.ก๊อง นายก อบจ.เชียงใหม่ เป็นประธานประชุมปรึกษาหารือ
โครงการวิจัย เรื่องการศึกษาและพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพท้องถื่นภายใต้บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ให้แก่ อบจ. มีนายธัชพล อภิรติมัย ปลัด อบจ.เชียงใหม่ น.พ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ประธานอนุกรรมการ
บริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่ อปท. พร้อมผู้บริหาร ผอ.รพ.สต. และเจ้าหน้าที่ร่วมประชุมกว่า 30 คน โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง
นายพิชัย กล่าวว่า พร้อมสนับสนุนและร่วมมืองานวิจัยดังกล่าว ซึ่งเชียงใหม่เป็น 1 ใน 49 อบจ. ที่รับถ่ายโอน รพ.สต. 62 แห่ง ในปี 2566 และมี รพ.สต.สมัครใจถ่ายโอนในปี 2567 อีก 7 แห่งรวมเป็น 69 แห่ง จาก 267 แห่ง ซึ่งอบจ. พร้อมรับถ่ายโอนทั้งหมด เนื่องจากมีงบประมาณบริหารจัดการ ปีละ 1,600 ล้านบาท
ทั้งนี้ อบจ. มีโครงการรักษาระบบแพทย์ระยะไกล หรือ Telemedisine นำร่องที่รพ.สต.โป่งแยงใน อ.แม่ริม พร้อมหน่วยบริการสาธารณสุขประจำ รพ.สต. หรือCUP อีก 10 แห่ง โดยเปิดรับสมัครแพทย์ทันตแพทย์ พยาบาล เภสีชกร นักายภาพ
บำบัดเพิ่มเติม ล่าสุดเปิดรับพยาบาลวิชาชีพ 105 ตำแหน่ง บรรจุเป็นข้าราชการแล้ว 70
ราย พร้อมรับสมัครเจ้าหน้าที่ธุรการ และบัญชีการเงิน 30-40 คนเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยมอบอำนาจให้ ผอ.รพ.สต. สามารถเบิกจ่ายงบได้ไม่เกิน 100,000 บาท/ครั้ง เพื่อบริหารจัดการคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งมีแผนสร้างโรงพยาบาล อบจ. ที่ อ.ฝาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดซื้อที่ดิน และออกแบบสร้างแล้ว
“ถ้าจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้วเสร็จ พรรคเพื่อไทย (พท ) คุมกระทรวงสาธารณสุข (สธ ) เชื่อว่าอบจ.สามารถประสานงาน สธ. พัฒนาและยกระดับการบริการ
สาธารณสุขของเชียงใหม่ ให้ทันสมัยและก้าวหน้ามากขึ้น” นาบพิชัย กล่าว
นายธัชพล กล่าวถึงปัญหาอุปสรรคการถ่ายโอน รพ.สต. มายัง อบจ. ว่า อบจ.ทั่วประเทศ มีงบประมาณตั้งแต่ 300-4,000 ล้านบาท ทำให้ อบจ. อีก 13แห่ง ไม่พร้อมรับถ่ายโอน รพ.สต. และไม่ได้รับความร่วมมือถ่ายโอนบุคลากรจากสาธารณสุขมายัง อบจ.แต่ อบจ.เชียงใหม่ ได้ยกระดับการ
บริการสาธารณสุข โดยจัดตั้งศูนย์
บริการทางการแพทย์แบบครบวงจรเป็นแห่งแรกประเทศ พร้อมยกฐานะกองสาธารณสุข เป็นสำนักสาธารณสุข เพื่อรองรับ รพ.สต.ดังกล่าว
ส่วนปัญหาเรื่องการถ่ายโอนครุภัณฑ์และกรรมสิทธิที่ดิน รพ.สต. มาให้อบจ.บริหารจัดการนั้น สามารถแก้ไขบปัญหาได้ 80-90 % แล้ว ยังมีบางแห่งติดขัดเรื่องกรรมสิทธิที่ดินว่าใครเป็น
เจ้าของอยู่ ทั้งนี้ อบจ.ได้ใข้งบปรับปรุงซ่อมแซม รพ.สต. กว่า 4 ล้านบาทแล้วในปี 67 ใช้งบปรับปรุงซ่อมแซมอีก 104 ล้านบาท
นพ.ปรีดา กล่าวว่า การถ่ายโอน รพ.สต.ไปยัง อบจ. ถือว่าตอบโจทย์กระจายอำนาจได้ ซึ่งการถ่ายโอนต้องเป็นไปแบบยั่งยืน การบริการสาธารณสุขแก่ประชา
ชนต้องดีกว่าเดิม ส่วนปัญหาอุปสรรคการถ่ายโอน รพ.สต. ต้องได้รับการแก้ไขเป็นขั้นตอน หรือค่อยเป็นค่อยไป ในอนาคตต้องถ่ายโอนเต็มรูปแบบ ซึ่งงาน
วิจัยดังกล่าว ช่วยพัฒนาและยกระดับบริการสาธารณสุขให้มีมาตรฐานสากลมากขึ้นด้วย
นายเลอพงศ์ กล่าวว่า งานวิจัยดังกล่าวนำร่อง 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ปทุมธานี เพื่อตอบโจทย์กระจายอำนาจ ซึ่ง อบจ.เชียงใหม่ ถือเป็น
ต้นแบบ หรือโมเดล ถ่ายโอนรพ.สต.เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานทั่วประเทศเพราะผู้บริหารใส่ใจ มีทีมงานเข้มแข็งซึ่งสำนักงบประมาณ จัดสรรงบให้ รพ.สต. แห่งละ 1-2 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับ
ขนาด และจำนวนประชากร เชื่อว่าประชาชนได้รับบริการดีขึ้น
ต่อมานายพิชัย ได้นำ นพ.ปรีชา นายเลอพงศ์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยม รพ.สต.สันโค้งใหม่ ต.ทรายมูลและ รพ.สต.กอสะเลียม ต.บวกค้างอ.สันกำแพง เพื่อติดตามการพัฒนาอาคารสถานที่ และปรับภูมิทัศน์ ก่อนเดินทางกลับตามลำดับ
Discussion about this post