
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 29 มิถุนายน 2566 พระกิตติสุวฒนาภรณ์ ดร.เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามพร้อมด้วย ดร.ธีรชัย ชุติมันต์ ประธานคณะกรรมการหอพระประวัติฯ นายมังกร โลกนิยม คณะกรรมการวัดเทวสังฆารามฯ ดร. สมพงษ์ เตชรัตนวรกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพมงคลรังสี น.ส.สรียา บุญมา ผอ.ททท.สนง.กาญ จนบุรี นายทวีป พัฒนมาศ ผู้อำนวยกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สำนักงานวัฒน ธรรมจังหวัดกาญจนบุรี นายสัณฑพงศ์ เทพวงศ์ คณะกรรม การวัดเทวสังฆารามฯ และ คณะกรรมการพัฒนาหอพระประวัติฯ ร่วมประชุม ณ วัดเทวสังฆาราม ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
การจัดงาน 110 ปี ชาตกาล สม เด็จพระสังฆราชเจ้า รอยทางเจริญธรรม” มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระเกียรติ คุณของพระองค์ท่านฯ พระกิตติสุวัฒนาภรณ์ ดร.เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม พร้อมด้วย คณะกรรม การวัดเทวสังฆาราม คณะกรรม การพัฒนาหอพระประวัติฯ รวมทั้งพุทธศาสนิกชน เห็นสมควรจัดงาน โครงการ 110 ปี ชาตกาล สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ รอยทางเจริญธรรม ขึ้น ในวันที่ 24-26 ตุลาคม พุทธศักราช 2566 ณ หอพระประวัติฯ ริมน้ำ วัดเทวสังฆารามพระอารามหลวง (วัดเหนือ) กิจกรรมภายในงาน จัดให้มีพิธีตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ขบวนแห่อัญเชิญพระอัฐิสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ให้ประชาชนได้กราบสักการะ การแสดงนิทรรศ การ การประกวดสุนทรพจน์ จัดเวทีเสวนา จัดตลาดริมน้ำ เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตคนในชุมชน ประกวดขับร้องเพลงเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านฯ การแสดง แสง สี เสียง ชุด “สามเณรเจริญ ผู้ใฝ่ในทางธรรม”

ประวัติ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงมรชาติภูมิเป็นขาวตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจน บุรี ประสูติวันที่ 3 ตุลาคม พุทธ ศักราช 2456 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ในรัชกาลที่ 6 เมื่อช่วงที่มีพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จังกวัดกาญจนบุรี จนจบชั้นปีที่ 5 ในสมัยนั้น เทียบเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปัจจุบัน ต่อมาในปี พุทธศักราช 2469 ทรงมีพระบันษา 14 ปี ได้ทรงบรรพชาเป้นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) โดยมี พระเทพมงคลรังสี (ดี พุทธ โชติ) เป็นพระอุปชฌาย์ และมีพระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวณณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีลในปีพุทธศักราช 2576 พระชันษาครบอุปสมบท ได้กลับไปทรงอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) จังหวัดกาญจนบุรี ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ 1 พรรษา แล้ว กลับมาทรงทำทัฬหีกรมม (อุปสม บทซ้ำ) เป็นธรรมยุต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2476 ระหว่างนั้นยังคงเวียนไปสอนปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) อยู่อีก 2 ปี พระองค์ท่านฯ ทรงศึกษาเรียนรู้ภาษาต่างๆ ทรงสอบได้เปรียญขั้นสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวรขึ้นเป้น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันศุกร์ที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2532 ณ พระอุโบสถวัดพระศรี รัตนศาสดาราม นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พุทธศักราช 2556 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 5 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชองค์การโปรดสถาป นาพระอัฐิ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑตโต) ขึ้นเป้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2562 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 8 ปีกุล.
Discussion about this post