
วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นำคณะหัวหน้าส่วนราชการ ศาล ทหาร ตำรวจ องค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ และประชาชนในพื้นที่ ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระ เกียรติสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม ที่จังหวัดนครพนม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้ร่วมกันทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันหลักของชาติ และเสริมสร้างความรักความสามัคคีของประชาชนในชาติให้มั่นคง โดยมีพระศรีวิสุทธินายก เจ้าคณะจังหวัดนครพนม (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดศรีเทพประดิษฐารามเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ซึ่งชาวพุทธเชื่อว่าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เป็น การปฏิบัติบูชา ที่นอกจากจะเป็นพุทธานุสติแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เป็นการเสริมชะตาให้ยืนยาว เป็นมงคลในชีวิต มีความเป็นอยู่ที่ปราศจากโรคภัยทั้งหลายทั้งปวง โดยคำว่าพระพุทธมนต์ หมายถึง พระพุทธพจน์อันเป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพระพุทธ เจ้าที่มีปรากฏในพระไตรปิฏกบ้าง เป็นคำที่แต่งขึ้นมาภายหลังบ้าง และเรียกอีกอย่างว่า สวดพระปริตร ซึ่งมี 7 พระสูตร คือ มงคลสูตร ว่าด้วยเหตุที่จะทำให้เกิดสิริมงคล รัตนสูตร ว่าด้วยรัตนทั้ง 3 คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นการสวดเพื่อปัดเป่าอุปัท วันตรายให้หมดไป กรณียเมตตสูตร ว่าด้วยการเจริญเมตตาไปไหนมาไหนให้คนและเทวดารักใคร่ เมตตา ขันธปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์สำหรับป้องกันสัตว์ร้ายพวกอสรพิษ ธชัคคสูตร ว่าด้วยการเคารพธงและการรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยทำให้หายหวาดกลัว อาฏานาฏิยปริตร ว่าด้วยพระ พุทธมนต์ที่สามารถป้องกันอุปัท วันตรายทั้งปวง และอังคุลิมาลปริตร ว่าด้วยมนต์ขององคุลีมาล
โดย ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาความขาด แคลนบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข และความเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ โดยเฉพาะความต้องการการสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชา ชนชาวไทย ต่อมาทรงก่อตั้งสถา บันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประ ธานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และนายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีว เคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนอกจากจะทรงได้รับการยอมรับพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยา ศาสตร์ในระดับนานาชาติแล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล รวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทยอีกด้วย.
Discussion about this post