เมื่อวันที่ 5 ก.ค.66 นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติการฝนหลวง ช่วยเหลือพื้นที่อำเภอบางสะพาน – บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรี ขันธ์ ซึ่งประสบปัญหาภัยแล้ง โดยมี ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการ จ.ประจวบฯ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย นายเลิศยศ แย้มพราย นายอำเภอบางสะพาน นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ส.ส.จังหวัดประจวบฯ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยว ข้องร่วมประชุมติดตามสถาน การณ์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทองมงคล อ.บางสะพาน โดยปัจจุบัน จ.ประจวบฯ ได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 7 อำเภอ ได้แก่ อ.หัวหิน อ.ปราณบุรี อำเภอเมือง อ.สามร้อยยอด อ.ทับสะแก อ.บางสะ พาน และ อ.บางสะพานน้อย สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 9 แห่ง อยู่ในเกณฑ์น้อย ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ที่มีการปลูกทุเรียน มะพร้าว ยาง พารา ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย ประชาชนขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาในบางพื้นที่ของ อ.บางสะ พาน และ อ.บางสะพานน้อย
นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ในเดือนกรกฎาคมนี้ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน ได้ใช้เครื่องบิน CARAVAN จำนวน 2 ลำ และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สุราษฎร์ธานี ใช้เครื่องบิน BT67 จำนวน 1 ลำ ปฏิบัติการทำฝนเทียมช่วยเหลือพื้นที่ภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง โดยมีฐานเติมสารฝนหลวงที่ท่าอากาศยานชุมพร เพื่อให้เครื่องบินสามารถลงเติมสารฝนหลวงเพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ อ.บางสะพานน้อย อ.บางสะ พาน และจังหวัดชุมพร ได้ทันกับสภาพอากาศโดยไม่ต้องบินกลับไปยังฐานที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม จ.ประจวบฯ มีภูมิ ประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาวและแคบ มีพื้นที่ติดแนวชายแดนไทย-เมียนมา และติดทะเล ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการปฏิบัติการฝนหลวง หากลมในระดับบินปฏิบัติการมีกำลังค่อนข้างแรงจะส่งผลให้กลุ่มเมฆเคลื่อนที่ออกจากพื้นที่เป้าหมายสู่ทะเลค่อนข้างเร็ว จึงได้กำชับให้นักวิทยาศาสตร์ นัก บิน วางแผนติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดในแต่ละวัน และช่วงชิงสภาพอากาศเพื่อปฏิบัติการฝนหลวงให้ทันเหตุการณ์ตรงพื้นที่เป้าหมายที่ต้องการ และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรเพื่อติดตามผลการทำงานและปัญหา เพื่อนำมาวาง แผนช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องต่อไป.
Discussion about this post