ยะลา -เลขาฯ ศอ.บต. ต้อนรับ เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ในโอกาส เยือน ศอ.บต. เพื่อแลกเปลี่ยนแนว ทางการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
วันนี้ (11 กรกฎาคม 2566) ที่ ห้องประชุมรับรอง ชั้น 3 อาคารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.เมือง จ.ยะลา พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้การต้อนรับ H.E. Mr.Pedro Zwahlen (นายเปโดร สวาห์เลน) เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิส(สวิตเซอร์แลนด์) ประจำประเทศไทย ในโอกาส เยือน ศอ.บต.เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ ศอ.บต. โดยมี นางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กรมประชาสัมพันธ์ นายวิสันติ์ ประเสริฐศรี ผู้ช่วยเลขาธิ การ ศอ.บต. กระทรวงแรงงาน นางสาวเยาวภา อินชะนะ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นางเปรมวดี สันหนู ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต.กระทรวงพาณิชย์ นาวาเอก จักรพงษ์ อภิมหาธรรม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับ สนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน นายอิสระ ละอองสกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒ นาเพื่อความมั่นคง ตลอดจน เจ้าหน้าที่ บุคลากร ศอ.บต. ร่วมให้ การต้อนรับ
ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านภารกิจงานของ ศอ.บต. พร้อมทั้งให้ความสนใจในเรื่องการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ศอ.บต. ได้มีการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม พุทธ คริสต์ รวมถึงมีพี่น้องไทยเชื้อสายจีน โดย ศอ.บต. ให้การดูแลอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตตามอัตลักษณ์ ศาสนาอิสลามมีการส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นมุสลิมไปประกอบพิธีฮัจญ์ อุมเราะห์ มีทีมแพทย์ไปคอยอำนวยความสะดวก ในขณะเดียวกันกิจกรรมสำคัญทางศาสนาพุทธ ศอ.บต. ก็ได้เข้าไปส่งเสริม ทุกศาสนาต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม เป็นสิ่งที่ ศอ.บต. เน้นมากที่สุด
เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ยังได้รับฟังการส่งเสริมด้านภาษาให้กับคนในพื้นที่ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า คนในพื้นที่ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษามลายูได้ แต่เมื่อเข้าโรงเรียนจะเรียนด้วยภาษาไทย และเพิ่มองค์ความรู้ในด้านภาษาอังกฤษ อาหรับ และภาษาอื่นๆ ซึ่งหากยิ่งสามารถสื่อสารได้หลายภาษาก็จะเป็นการยิ่งเพิ่มโอกาสในอนาคต ในส่วนของ ศอ.บต. มีธนาคารสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งมีการผลิตสื่อ ประยุกต์ ให้เด็กได้เรียนรู้ ทั้งหนังสือ สมุดภาพ ของเล่น สอด แทรกเป็นภาษาต่างๆ ทั้งไทย อังกฤษ มลายู และอาหรับ
นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องการเรียนการสอนแบบพหุภาษา โดยองค์กร Pestalozzi Children’s Foundation เป็นองค์กรสากลของสมาพันธรัฐสวิส ที่ทำงานสนับสนุนคุณภาพชีวิตให้กับเยาวชนด้อยโอกาส ให้สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเรียนการสอนแบบพหุภาษา ที่ผ่านมามีการส่งเสริมด้านการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนชาวลาหู่ ที่ จ.เชียงใหม่ ที่เริ่มต้นการเรียนด้วยภาษาลาหู่ และสอดแทรกด้วยภาษาไทย มีการเรียนควบคู่ทั้ง 2 ภาษา จนนักเรียนสามารถพูดทั้ง 2 ภาษาได้อย่างคล่อง
แคล่ว.
เจษฎา สิริโยทัย จ.ยะลา
Discussion about this post