
วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ที่บริเวณบ้านแก่งโพธิ์ ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธานเปิดโครงการฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรประมงในแหล่งน้ำสำคัญ(ประมงร่วมอาสาพาปลากลับบ้านจากน้ำโขงสู่หนองหาร) ที่สำนักงานประมงจังหวัดนครพนม ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครพนม ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสกลนคร หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนน้ำอูนสกลนคร จัดขึ้น เพื่อร่วมกันดำเนินการเพาะขยายพันธุ์ปลาด้วยชุดเพาะฟักไข่ปลาเคลื่อนที่ Mobile hatchery ร่วมกันขนย้ายลูกปลาระยะแรกฟัก อายุ 2 วัน นำไปปล่อยในพื้นที่เป้าหมายแหล่งต้นน้ำในพื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร และลำน้ำก่ำ จังหวัดนครพนม ร่วมทั้งการประชาสัม พันธ์ ถ่ายทอดความรู้ให้กับนัก เรียน นักศึกษา และประชาชนในชุมชน โดยมีนายกฤษณุพันธ์ โกเมนไปรรินทร์ ประมงจังหวัดนครพนม กล่าวรายงาน มีนายอำเภอธาตุพนม ตลอดจนคณะผู้บริหาร กอง/ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด นายกเทศมนตรีตำบลน้ำก่ำ กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยา กรประมงในพื้นที่จังหวัดนครพนม นักเรียน นักศึกษาร่วมกิจกรรม
นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ในการดำเนินการเพื่อเพิ่มผลผลิตในแหล่งน้ำให้กับพี่น้องชาวประมงและเกษตรกรในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร เกี่ยวกับโครงการประมงร่วมอาสาพาปลากลับบ้านจากน้ำโขงสู่หนองหาร มีที่มาจากเดิมที่ธรรมชาติเมื่อถึงฤดูวางไข่ ช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – สิงหาคมของทุกปี ปลาจะมีการเคลื่อนที่ไปวางไข่ตามจุดต่าง ๆ ที่เหมาะสมของแหล่งน้ำ แต่ด้วยการพัฒนาเมืองของเราทำให้ส่วนหนึ่งกลายเป็นการกรีดขวางการเดินทางไปวางไข่ของปลา ดังนั้นกรมประมงจึงได้ร่วมกับชุมชนประมง มีการตั้งกฎกติกาเพื่อร่วมกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดยกรมประมงได้คิดหาวิธียกสถานีประมงหรือศูนย์ประมงเอามาไว้ในชุมชน เพื่อที่จะนำพ่อแม่พันธุ์ปลามาฉีดกระตุ้นฮอร์โมนทำให้เกิดการวางไข่ จากนั้นอนุบาลให้เป็นลูกปลาแล้วนำไปปล่อยให้เจริญเติบโตตามจุดเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งนวัตกรรมที่ว่าคือชุดเพาะฟักไข่ปลาเคลื่อนที่ Mobile hatchery ที่เป็นการปฏิบัติอิงธรรมชาติโดยนำหลักวิชาการเข้ามาเสริม ซึ่งปัจจุบันแต่ละศูนย์วิจัยจะมีชุด Mobile hatchery ประจำศูนย์อยู่ประมาณ 1-2 ชุด พอถึงฤดูปลาวางไข่ กรมประมง ก็จะส่งนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ มาออกตั้งแคมป์ประจำจุดต่าง ๆ เพื่อสำรวจร่วมกับผู้นำชุม ชน องค์กรประมงชุมชน ตลอดจนกลุ่มอนุรักษ์ต่าง ๆ ว่าจุดไหนมีพ่อแม่พันธุ์ปลาอยู่เป็นจำนวนมาก จากนั้นช่วยกันรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำมาขยายพันธุ์ด้วยชุด Mobile hatchery แล้วนำลูกปลาที่ได้ไปปล่อยตามแหล่งน้ำเป้าหมายตั้งแต่หนองหาร เรื่อยลงมาตามป่าบุ่งป่าทาม และลำน้ำก่ำ โดยในอนาคตมีแนวคิดที่จะให้มีชุด Mobile hatchery ประจำอำเภอ เพราะมองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าลงทุนน้อยแต่ได้มาก เนื่องจากราคาไม่กี่หมื่นบาทแต่สามารถเสริมพันธุ์ปลาได้เป็นจำนวนมาก โดยแม่พันธุ์ปลา 1 ตัว สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาได้ถึงแสนตัว อย่างปีที่แล้วที่ดำเนินการในลุ่มน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมจนถึงหนองหาร จังหวัดสกลนคร สามารถเพาะพันธุ์ปลาได้ถึง 30 กว่าล้านตัว.
Discussion about this post