วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเทพวรมุนี ศูนย์ประชุมสาธารณสุขจังหวัดนครพนม นางกุสุมา สุวรรณโมรา รองนายเเพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม (ด้านบริหาร) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน”คลินิกไร้พุง” ตามโครงการขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและสร้างความรอบรู้สุขภาพ ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่จังหวัดนครพนม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
โดยกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้สำรวจพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของประชากรวัยทำงานจังหวัดนครพนมในปีงบ ประมาณ 2565 พบว่า มีพฤติ กรรมที่พึงประสงค์ ร้อยละ 50.33 (ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 50) และมีค่าดัชนีมวลกายปกติร้อยละ 54.56 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา มีสาเหตุเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะ 4 พฤติกรรมสำคัญได้แก่ การบริโภคอาหาร การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ พฤติกรรมการนอน พฤติกรรมการแปรงฟัน การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระดับอำเภอ ให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ จะสามารถป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนลงพุง และป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 150 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานจาก โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยา บาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รูปแบบการอบรมฯ เป็นการบรรยาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดอบรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์สุขภาพอนามัยที่ 8 อุดรธานี ศูนย์สุขภาพจิต ที่ 8 โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลสกลนคร
ที่ห้องประชุมศรีโคตรบูร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการอบรมโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนา การและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม (DSPM- based Family-medicate Preschool Parenting Program: Triple-P) ซึ่งโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนคร พนม กล่าวว่า เด็กและเยาวชนมีความสำคัญ เนื่องจากต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดูแลอนาคตของประเทศ หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม จะทำให้พัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ของเด็กสมวัย หากเด็กมีความผูกพันทางอารณ์ที่ดีกับพ่อแม่ผู้ปกครอง (Attachment) เด็กจะรู้สึกปลอด ภัย อารมณ์มั่นคง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะพัฒนาเด็กในเรื่องอื่น ๆ ต่อไปได้ โปรแกรม Triple-P ทีกรมสุขภาพจิตทำขึ้นนี้มีองค์ประกอบหลัก อ การทำให้ผู้ปกครองมีทักษะการสร้างความผูกพันทางอารมณ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ผู้ปกครอง และสร้างวินัยให้เด็กด้วยเทคนิคเชิงบวก โดยผ่านกระบวน การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จะทำให้เด็กที่อาศัยในอำเภอธาตุ พนมมีพัฒนาและความฉลาดทางอารมณ์ที่ดีขึ้นได้
สำหรับการอบรมโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม (DSPM-based Family-medicate Preschool Parenting Program: Triple-P) จะมีการบรรยายเรื่อง “หลักการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม (DSPM -based Family-medicate Preschool Parenting Program: Triple-P) เรื่อง ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการเสริมพลังครอบครัว การสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม (กิจกรรมสร้างสายใย
Discussion about this post