นายกิตติศักดิ์ ธีระวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ Soft Power “พลังละมุนแสดงความสามารถคนพิการทางสติปัญญา” โดยมีนายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการ พร้อมผู้เข้าร่วมโครงการให้การต้อนรับ ณ โรงแรมศุภาลัย ป่าสัก รีสอร์ท แอนด์ สปา ต.ท่าคล้อ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
นาย สุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการนี้ เป็นโครงการ Soft Power พลังละมุนแสดงความสามารถของน้องๆคนพิการ ทางด้านสติปัญญา เพราะเราคิดว่าการที่น้องๆเหล่านี้ อยู่แต่บ้าน ชอบที่จะเต้น ชอบร้องรำทำเพลง และทางกลุ่มของคนพิการด้านสติปัญญา ส่วนใหญ่เขาจะมีปัญหาเรื่องไอคิว ซึ่งน้อยกว่าคนอื่นเขา แต่พอเราเห็นเขาชอบเต้น ร้องรำทำเพลงอะไรต่างๆ เราก็เลยดึงสักยภาพเขาขึ้นมา พอดึงขึ้นมาถึงระดับนึงแล้ว ทีนี้พอดึงขึ้นมาปุ๊บ พอถึงระดับนึง ปรากฏว่า เราจะเอาสามารถตรงนี้ไปทำอะไรได้ ตนก็เกิดไอเดียขึ้นมาว่า ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งสมัยก่อนมีความล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆ แต่ปัจจุบันสามารถที่จะแซงประเทศไทยได้ สมัยก่อนเขาก็มาดูงานที่ประเทศไทยด้วย แต่เขาใช้พลังงาน Soft Power ในการต่อสู้สร้างประเทศขึ้นมา เราก็เลยคิดว่า กลุ่มสติปัญญาของเรา ก็ควรจะใช้พลังงาน Soft Power ในการต่อสู้กับอย่างอื่นๆได้ เราจึงได้ทดลองดู ก็ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างมาก เพราะน้องๆเหล่านี้ เราหาครูดีๆมาสอนเขา พอเขามีความรู้ความสามารถ เขาก็เริ่มที่จะมีงานทำมากขึ้น มีการเรียนหนังสือมากขึ้น พ่อแม่เริ่มเปิดใจ เริ่มพอออกสื่อสังคมมากขึ้น มันก็เลยเป็นที่ไปที่มาของ Soft Power ในครั้งนี้ ส่วนเรื่องความหวาดกลัวของเด็กๆ ยกตัวอย่างเช่น ลูกชายของตน ตอนนี้อายุ 23 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้เวลาไปที่ไหนเขาก็อาย พ่อแม่ก็อายไม่กล้าพาลูกออกจากบ้าน เพราะมันจะมีคำๆนึง ที่บางทีมองว่า เป็นเด็กเอ๋อมั่ง เด็กปัญญาอ่อนมั่ง ซึ่งมันเป็นคำบลูลี่คำนึง ที่ขวางกั้นกำแพงของเด็กเหล่านี้ แต่พอเราเริ่มเรียกเด็กพิเศษ หรือเด็กที่มีความต้องการจะเป็นเด็กพิเศษ แล้วให้เขามีความสามารถเยอะๆขึ้น เขาก็จะแสดงออกและมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง กล้าที่จะไปเที่ยวห้าง หรือกล้าที่จะไปตามร้านอาหารและร้านกาแฟต่างๆ ซึ่งสมัยก่อนเวลาเราไปแทบจะไม่เห็นเลย ในปัจจุบันจึงทำให้เขาเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น
ส่วนในวันนี้เป็นการแสดงของภาคกลาง ซึ่งเราจะเอาทั้งหมด 32 จังหวัด ประมาณ 200 กว่าคน รวมทั้งผู้ปกครองด้วย เอามารวมตัวกัน และเราก็เอาคนที่เก่งๆ อย่างเช่น วิทยากรที่มีความสามารถทางด้านการแสดง พัฒนาบุคลิกภาพในการสอน เอามาสอนเขา เดินแบบให้เป็น ร้องเพลงให้เป็น พอเขาเป็นเหล่านี้ปุ๊บ เราก็จับเขามาประกวดกัน นำมาแข่งขันกันในภาคกลางก่อน ซึ่งตอนนี้จาก 90 กว่าคน เราก็คัดไปครึ่งหนึ่ง ประมาณ 47 คน พอได้ตรงนี้ไปปุ๊บเราก็จะนำไปแข่งกับภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ จากนั้นก็จะไปชิงชนะเลิศที่จ.กรุงเทพ ฯ
จากการที่ประเมินผู้ปกครอง ที่เราได้พูดคุยรวมถึงเด็กด้วย ซึ่งตนสังเกตมีเด็กอยู่ 1 คน มาจากสมุทรสาคร ซึ่งเขาจะเป็นคนนึงที่ติดมือถือมาก คุณแม่เขาบอกว่า ร้องห่มร้องไห้ไม่ยอม ซึ่งพ่อแม่คิดว่าการที่โยนมือถือให้กับลูกเนี่ย พ่อแม่ก็จะทำงานได้ แต่ว่ามันเป็นการคิดแบบผิดๆ ซึ่งในช่วงโควิด 1-3 ปี ที่ผ่านมา เด็กอยู่กับมือถือตลอด พอไปดึงออก เขาจะเกิดความเกี้ยวกราด เกิดอารมณ์ที่รุนแรงขึ้น แต่พอมาอยู่ตรงนี้ 3 วัน วันแรกเขานั่งก้มหน้าไม่มองหน้าใคร พอวันที่2เริ่มเงยหน้าขึ้น และวันนี้เมื่อเช้าตนเองได้นั่งกินข้าวกับเขา ซึ่งเขาก็เริ่มยิ้ม เริ่มพูดคุย และคุณแม่ก็บอกว่า ต่อไปจะไม่ให้เด็กเล่นมือถือ ถ้าจะเล่นก็ให้เป็นเวลา และจะใช้เวลาตรงนี้ให้กับลูกมากขึ้นอันนี้ฉะเพราะแค่ครอบครัวเดียว ยังมีอีกหลายครอบครัวที่เดินมาหาตนและบอกว่า การจัดงานในครั้งนี้สุดยอดเลย ลูกเขาไม่เคยยิ้มมาก่อน และไม่เคยขึ้นเวลาทีมาก่อน สามารถที่จะมาร้อง เล่น เต้น ได้ เพราะเราดึงศักยภาพเขามาอย่างเต็มที่
สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย มีบทบาทหน้าที่หลักในการดูแลและส่งเสริมให้คนพิการทางสติปัญญาและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพเป็นมิติหนึ่งที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตในเด็กพิการทางสติปัญญา การพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ ด้านสุขภาพจิต เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้พักผ่อนอย่างเหมาะสม การเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ด้านสังคมเป็นการรับรู้ ถึงบทบาทของตนเองในสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวคนพิการให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีให้บริการความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน สนับสนุนด้านการฝึกพัฒนาการ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางสติปัญญา ดังนั้นสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย จึงได้เสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อจัดทำโครงการ Soft Power “พลังละมุนแสดงความสามารถคนพิการทางสติปัญญา” เพื่อพัฒนาคนพิการทางสติปัญญาได้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายและมีความแข็งแรง พร้อมทั้งได้พัฒนาด้านภาษาและการสื่อสาร พัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์และทักษะการเข้าร่วมสังคมกับคนทั่วไป ได้มีโอกาสแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการให้สามารถอยู่ร่วมในสังคม กับคนปกติและชุมชนต่อไป
หิรัญยวัต อธิวัฒน์เดชากร / สระบุรี
Discussion about this post