วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ที่ห้องประชุมศูนย์สารสนเทศยางพารานครพนม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม จังหวัดนครพนม นายชุมพล แย้มวิจิตรจรรยา หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช เป็นประธานเปิดการชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน ศจช. และแปลงใหญ่ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2566 โดยมีเป้าหมาย คือ เกษตรกรแกนนำสมาชิก ศจช. และคณะกรรมการขับเคลื่อนแปลงใหญ่ ระดับจังหวัด จำนวน 20 คน เพื่อวางแนวทางการส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการทำ งานร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการ ศจช. และแปลงใหญ่ ได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการ เกษตร เช่น กระบวนการผลิตพืช การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการตลาด และเกิดการบูรณาการระหว่างกลุ่มเกษตรกรในการร่วมกันวางแนวทางการผลิตพืชที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต อันนำไปสู่การพัฒนาการเกษตรในพื้นที่อย่างยั่งยืน
นายชุมพล แย้มวิจิตรจรรยา หัว หน้ากลุ่มอารักขาพืช กล่าวว่า ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) จัดตั้งขึ้นจากการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อการจัดการศัตรูพืชในพื้นที่ของตนเองและชุมชน โดยสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และนำความรู้ไปดำเนินการจัด การศัตรูพืชด้วยตนเอง ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรจะใช้ ศจช. เป็นกลไกและ เครือข่ายของการจัด การศัตรูพืช ในการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรจากการระบาดของ ศัตรูพืชและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเกษตรกร ชุมชน และท้องถิ่น โดยใช้เทคนิค การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory learning) ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร (Farmer Field School : FFS) เพื่อให้สามารถจัดการศัตรูพืชได้ด้วยตนเอง อย่างครบวงจรและยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำาไปสู่ความเข้มแข็งในอาชีพเกษตรกรรม และรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ทางการเกษตร พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยมีเกษตรกร ชุมชน และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ยังเป็นเครือข่ายของศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ทำาหน้าที่ด้านอารักขาพืช ช่วยแก้ไข ปัญหาของเกษตรกร และชุมชน จากภัยของศัตรูพืช ที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดการศัตรูพืชของเกษตรกร ที่ผ่านมาดำเนินการโดยการพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก การควบคุมศัตรูพืช อาศัย ประสบ การณ์และความเคยชิน ขาดความรู้ด้านวิชาการเป็นอย่างมาก จึงทำให้ การผลิตพืชขาดทั้งปริมาณ คุณภาพ และระบบนิเวศถูกทำ ลายอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนเน้นการพัฒนาเกษตรกรและชุม ชน ให้สามารถจัดการศัตรูพืชได้ด้วยตนเองอย่างครบวงจร โดยเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ชุมชนและหน่วยงานราชการ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพื่อทำให้เกษตรกร ชุมชน มีความเข้มแข็งในอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สำหรับการขับเคลื่อน โดยการจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และแปลงใหญ่ ร่วมกันมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ มุ่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างคณะกรรม การ ศจช. และคณะกรรมการแปลงใหญ่ในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม และผลักดันให้เกิดเครือข่ายการบูรณาการด้านการเกษตรในพื้นที่ เกิดการสร้างช่องทางการเชื่อมโยง เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลระหว่างกัน และสร้างประโยชน์ระหว่างกลุ่มเกษตรกร และร่วมกันกำหนดแผนการผลิตพืช การผลิตขยายและใช้ชีวภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุน การผลิตและช่องทางการรวมกลุ่มเพื่อจำหน่ายสู่ตลาด และจากการประชุมของคณะกรรม การได้มีข้อสรุปและ เห็นชอบในการจัดตั้งกลุ่มไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารบูรณาการด้านการเกษตรระหว่าง ศจช. และแปลงใหญ่ร่วมกัน และมีจัดทำทำเนียบและช่องทางการติดต่อของประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช). และคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ ระดับจังหวัด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานและการให้บริการของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) และแปลงใหญ่ให้เกิดความสอดคล้องและต่อเนื่องในการยกระดับการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่อย่างยั่งยืน.
Discussion about this post