เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 นายมาโนช กิ่งเมือง หัวหน้าวนอุทยานแก้วโกมล อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ ฮ่องสอน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมาเนื่องจากเกิดฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ดินสไลด์และก้อนหินขนาดใหญ่ กลิ้งลงมาปิดทับทางเข้าถ้ำแก้วโกมล ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของ อ.แม่ลาน้อย จึงได้มีการออกประกาศปิดการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวถ้ำแก้วโกมล ตั้ง แต่เดือนสิงหาคม 2566 ไปจนถึง เดือนกันยายน 2566 จึงขอประ กาศให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบโดยทั่วกัน
สำหรับถ้ำแก้วโกมล จัดว่าเป็นถ้ำที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย เป็นหนึ่งในถ้ำผลึกแร่แคล ไซต์ที่ค้นพบเพียง 3 แห่งทั่วโลก คือพบที่ ประเทศจีน ประเทศออส เตรเลีย และประเทศไทย ค้นพบด้วยความบังเอิญโดยวิศวกรชาวไทย โดยถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำผลึกแคลไซต์ ที่ประกอบด้วยหินในตระกูลคาร์บอเนต ชนิดแอนไฮดรัสคาร์บอเนต ที่มีความใสกาวบริสุทธิ์มีรูปลักษณ์หลากหลายลักษณะ มีรูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบ ส่วนใหญ่เป็นรูปหกเหลี่ยมยาวยอดแหลมหรือรูปสี่แหลมขนมเปียกปูน มีแนวแตกเรียบที่สมบูรณ์ 3 แนว เป็นสิ่งที่พบได้ยากในธรรมชาติ ภายในถ้ำจะมีผลึกแร่แคลไซค์ที่มีลักษณะคล้ายเกล็ดหิมะ มีที่มาว่า ถ้ำน้ำแข็ง สามารถมองเห็นได้หลากหลายตามจินตนาการ เช่น ปะกา รัง ดอกกระหล่ำ เกล็ดน้ำแข็ง ดอกเข็ม และโคมไฟเพดาน มีสีขาว ใส เหลือง แดง และน้ำตาล กระจายอยู่ทั่วบริเวณผนังถ้ำ อีกทั้งยังมีหินย้อยที่กำลังก่อตัวซึ่งเกิดจากรอบแยกภายใน และมีหินงอกที่ลักษณะ เลื่อม ใส คล้ายมุก ภายในถ้ำจะแบ่งเป็นหลายห้องแต่ละห้องจะอยู่ถัดกันไปตามความลึกของถ้ำภายในถ้ำจะค่อนข้างชัน
ห้องที่ 1 : พระทัยธาร ห้องนี้มีที่มาจากการที่น้ำในถ้ำ ละลายกับหิน ปูนทำให้เกิดภาพน้ำไหลเหมือนเป็นธารน้ำตก เป็นห้องที่ได้รับความเสียหายจากการระเบิดอุโมงค์มากที่สุด สังเกตได้จากเศษหินที่กระจัดกระจายอยู่ภาย ใน มีโพรงที่จากการทำเหมืองตามสายแร่ฟลูออไรต์ หินงอก หินย้อยต่างๆ ได้รับความเสียหายจากการสำรวจไปมาก จึงไม่งดงามมากนัก ความงามของห้องที่ก็คงจะมีเพียงร่องรอยลวดลายสายน้ำตกอันเป็นที่มาของชื่อห้องเท่านั้น
ห้องที่ 2 : วิมานเมฆ โดยที่มาของชื่อมาจากผนังถ้ำด้านบนดูคล้ายกับปุยเมฆ ห้องนี้มีลักษณะเป็นช่องยาว บางช่วงเป็นรูแคบ ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของโพรงน้ำไหลในอดีต ทำให้มีความลำบากในการเดินสำรวจ มีหินงอก หินย้อย และบางจุดมีผลึกแร่แคลไซต์เกาะอยู่ แต่มีความงดงามไม่มากนัก เนื่อง จากผลึกบางส่วนได้แตกหักเสียหาย และมีรอยเปื้อนจากการถูกจับต้องระหว่างการเข้าสำรวจ
ห้องที่ 3 : เฉกหิมพานต์ เกิดจากจินตนาการของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9ที่ทรงทอดพระเนตรแล้วเหมือนอยู่ในป่าหิมพานต์ตามวรรณคดีไทย ห้องนี้ต้องลงบันไดไปประมาณ 50 เมตรเป็นห้องขนาดใหญ่มีหินงอกหิน ย้อยลักษณะเป็นผ้าม่าน สีขาวขุ่นถึงสีน้ำตาล ผลึกเหล่านี้ถูกละลายโดยน้ำเกิดเป็นคลื่นเป็นริ้วๆ สีขาวขุ่น หรือน้ำตาล ตามแต่สภาพน้ำที่ไหลเข้ามาเกาะตามผนังถ้ำ และย้อยลงมาอยู่ทั่วไป
ห้องที่ 4 : ม่านผาแก้ว ภายในห้องนี้จะเต็มไปด้วยผลึกแคลไซต์ สีดั่งแก้วใสขาวเกาะอยู่ราวกับม่านเต็มถ้ำ มีทั้งแบบที่คล้ายปะการัง คล้ายเข็ม และเกล็ดน้ำแข็ง ผลึกทั้งสามแบบมีความเปราะบางที่สุด ได้รับผลกระทบจากอากาศภาย นอกจนลดน้อยลงไปมาก ส่วนผลึกรูปปะการังเป็นผลึกขนาดเล็กละเอียดจับตัวต่อเนื่องเป็นผืนจนเต็มผนังอย่างสวยงาม พบตอนในสุดของห้อง
ห้องที่ 5 : เพริศแพร้วมณีบุปผา เป็นห้องที่อยู่ลึกลงไปถึง 30 เมตร ซึ่งเป็นห้องที่สวยงามที่สุด เพราะมีผลึกแคลไซต์ที่สมบูรณ์ตั้งแต่พื้นจนจดผนัง ทั้งผลึกรูปเข็มและผลึกรูปปะการังสีขาวบริสุทธิ์ราว กับเกล็ดหิมะ
ทั้งนี้ ถ้ำแก้วโกมลเป็นถ้ำปิด ซึ่งมีทางเข้า-ออกอยู่ทางเดียว มีขนาดเล็กและมีอากาศน้อย จึงสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้รอบละ 15-20 คน และเนื่องจากถ้ำแก้วโกมลเป็นถ้ำที่มีผลึกแร่แคลไซท์ ซึ่งจะหากสัมผัสกับมนุษย์ก็จะทำปฏิกิริยากับโปรตีนในเหงื่อทำให้ดำและไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีก การเข้าชมถ้ำแก้วโกมล จึงห้ามจับผนังถ้ำอย่าง เด็ดขาด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแย่งอากาศหายใจ และป้อง กันไม่ให้เบียดเสียดจนไปสัมผัสแร่ ผลึกภายในถ้ำ จนเสียหายหมดประกายแวววาว.
วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล อ.แม่ลา น้อย ประกาศปิดแหล่งท่องเที่ยว หลังฝนตกหนัก ก้อนหินกลิ้งปิด ปากทางเข้าถ้ำ ส.ค-ก.ย.66
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 นายมาโนช กิ่งเมือง หัวหน้าวนอุทยานแก้วโกมล อำเภอแม่ลาน้อย จ.แม่ ฮ่องสอน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมาเนื่องจากเกิดฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ดินสไลด์และก้อนหินขนาดใหญ่ กลิ้งลงมาปิดทับทางเข้าถ้ำแก้วโกมล ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของ อ.แม่ลาน้อย จึงได้มีการออกประกาศปิดการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวถ้ำแก้วโกมล ตั้ง แต่เดือนสิงหาคม 2566 ไปจนถึง เดือนกันยายน 2566 จึงขอประ กาศให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบโดยทั่วกัน
สำหรับถ้ำแก้วโกมล จัดว่าเป็นถ้ำที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย เป็นหนึ่งในถ้ำผลึกแร่แคล ไซต์ที่ค้นพบเพียง 3 แห่งทั่วโลก คือพบที่ ประเทศจีน ประเทศออส เตรเลีย และประเทศไทย ค้นพบด้วยความบังเอิญโดยวิศวกรชาวไทย โดยถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำผลึกแคลไซต์ ที่ประกอบด้วยหินในตระกูลคาร์บอเนต ชนิดแอนไฮดรัสคาร์บอเนต ที่มีความใสกาวบริสุทธิ์มีรูปลักษณ์หลากหลายลักษณะ มีรูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบ ส่วนใหญ่เป็นรูปหกเหลี่ยมยาวยอดแหลมหรือรูปสี่แหลมขนมเปียกปูน มีแนวแตกเรียบที่สมบูรณ์ 3 แนว เป็นสิ่งที่พบได้ยากในธรรมชาติ ภายในถ้ำจะมีผลึกแร่แคลไซค์ที่มีลักษณะคล้ายเกล็ดหิมะ มีที่มาว่า ถ้ำน้ำแข็ง สามารถมองเห็นได้หลากหลายตามจินตนาการ เช่น ปะกา รัง ดอกกระหล่ำ เกล็ดน้ำแข็ง ดอกเข็ม และโคมไฟเพดาน มีสีขาว ใส เหลือง แดง และน้ำตาล กระจายอยู่ทั่วบริเวณผนังถ้ำ อีกทั้งยังมีหินย้อยที่กำลังก่อตัวซึ่งเกิดจากรอบแยกภายใน และมีหินงอกที่ลักษณะ เลื่อม ใส คล้ายมุก ภายในถ้ำจะแบ่งเป็นหลายห้องแต่ละห้องจะอยู่ถัดกันไปตามความลึกของถ้ำภายในถ้ำจะค่อนข้างชัน
ห้องที่ 1 : พระทัยธาร ห้องนี้มีที่มาจากการที่น้ำในถ้ำ ละลายกับหิน ปูนทำให้เกิดภาพน้ำไหลเหมือนเป็นธารน้ำตก เป็นห้องที่ได้รับความเสียหายจากการระเบิดอุโมงค์มากที่สุด สังเกตได้จากเศษหินที่กระจัดกระจายอยู่ภาย ใน มีโพรงที่จากการทำเหมืองตามสายแร่ฟลูออไรต์ หินงอก หินย้อยต่างๆ ได้รับความเสียหายจากการสำรวจไปมาก จึงไม่งดงามมากนัก ความงามของห้องที่ก็คงจะมีเพียงร่องรอยลวดลายสายน้ำตกอันเป็นที่มาของชื่อห้องเท่านั้น
ห้องที่ 2 : วิมานเมฆ โดยที่มาของชื่อมาจากผนังถ้ำด้านบนดูคล้ายกับปุยเมฆ ห้องนี้มีลักษณะเป็นช่องยาว บางช่วงเป็นรูแคบ ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของโพรงน้ำไหลในอดีต ทำให้มีความลำบากในการเดินสำรวจ มีหินงอก หินย้อย และบางจุดมีผลึกแร่แคลไซต์เกาะอยู่ แต่มีความงดงามไม่มากนัก เนื่อง จากผลึกบางส่วนได้แตกหักเสียหาย และมีรอยเปื้อนจากการถูกจับต้องระหว่างการเข้าสำรวจ
ห้องที่ 3 : เฉกหิมพานต์ เกิดจากจินตนาการของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9ที่ทรงทอดพระเนตรแล้วเหมือนอยู่ในป่าหิมพานต์ตามวรรณคดีไทย ห้องนี้ต้องลงบันไดไปประมาณ 50 เมตรเป็นห้องขนาดใหญ่มีหินงอกหิน ย้อยลักษณะเป็นผ้าม่าน สีขาวขุ่นถึงสีน้ำตาล ผลึกเหล่านี้ถูกละลายโดยน้ำเกิดเป็นคลื่นเป็นริ้วๆ สีขาวขุ่น หรือน้ำตาล ตามแต่สภาพน้ำที่ไหลเข้ามาเกาะตามผนังถ้ำ และย้อยลงมาอยู่ทั่วไป
ห้องที่ 4 : ม่านผาแก้ว ภายในห้องนี้จะเต็มไปด้วยผลึกแคลไซต์ สีดั่งแก้วใสขาวเกาะอยู่ราวกับม่านเต็มถ้ำ มีทั้งแบบที่คล้ายปะการัง คล้ายเข็ม และเกล็ดน้ำแข็ง ผลึกทั้งสามแบบมีความเปราะบางที่สุด ได้รับผลกระทบจากอากาศภาย นอกจนลดน้อยลงไปมาก ส่วนผลึกรูปปะการังเป็นผลึกขนาดเล็กละเอียดจับตัวต่อเนื่องเป็นผืนจนเต็มผนังอย่างสวยงาม พบตอนในสุดของห้อง
ห้องที่ 5 : เพริศแพร้วมณีบุปผา เป็นห้องที่อยู่ลึกลงไปถึง 30 เมตร ซึ่งเป็นห้องที่สวยงามที่สุด เพราะมีผลึกแคลไซต์ที่สมบูรณ์ตั้งแต่พื้นจนจดผนัง ทั้งผลึกรูปเข็มและผลึกรูปปะการังสีขาวบริสุทธิ์ราว กับเกล็ดหิมะ
ทั้งนี้ ถ้ำแก้วโกมลเป็นถ้ำปิด ซึ่งมีทางเข้า-ออกอยู่ทางเดียว มีขนาดเล็กและมีอากาศน้อย จึงสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้รอบละ 15-20 คน และเนื่องจากถ้ำแก้วโกมลเป็นถ้ำที่มีผลึกแร่แคลไซท์ ซึ่งจะหากสัมผัสกับมนุษย์ก็จะทำปฏิกิริยากับโปรตีนในเหงื่อทำให้ดำและไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีก การเข้าชมถ้ำแก้วโกมล จึงห้ามจับผนังถ้ำอย่าง เด็ดขาด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแย่งอากาศหายใจ และป้อง กันไม่ให้เบียดเสียดจนไปสัมผัสแร่ ผลึกภายในถ้ำ จนเสียหายหมดประกายแวววาว.
ฉลอง หมั่นสกุล / จ.แม่ฮ่องสอน
ฉลอง หมั่นสกุล / จ.แม่ฮ่องสอน
Discussion about this post