เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมมงกุฎเพชร โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น นางสาวอารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(Public Hearing) เรื่อง เงื่อนไข/มาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภายหลังการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) (ทรู) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) (ดีแทค) ภายใต้โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2566 จัดโดยวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการเพื่อติด ตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2566
โดยนางสาวอารีวรรณ จตุทอง กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 บริษัท ทรู คอร์ปอ เรชั่น จำกัด มหาชน) หรือ “ทรู” และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ “ดีแทค” ประกาศการควบรวมเสร็จสมบูรณ์ ใช้ชื่อเป็น “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ภายหลังควบรวมจะทำให้ ทรู คอร์ปอ เรชั่น มีฐานผู้ใช้บริการทั้งหมดรวมกันประมาณ 55 ล้านเลขหมายจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งหมดราว 120 ล้านหมายเลข ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมไทย โดยเฉพาะในด้านการแข่งขัน เพราะลดจำนวนผู้ให้บริการหลักเหลือเพียง 2 ราย เนื่องจากผู้ใช้บริการของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT นั้นมีเพียงประมาณ 3 ล้านเลขหมาย

ขณะที่ผู้ใช้บริการของ MVNO: Mobile Virtual Network Opera tors(หรือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตประกอบการและโครงข่ายเป็นของตัวเอง) ทั้ง 8 รายรวมเป็นเพียง 4 หมื่นเลขหมาย ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)จึงได้มีการกำหนดแนว ทางและมาตรการที่เหมาะสม เพื่อที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดจากการแข่งขันที่ลดลง ซึ่งอาจจะสร้างผลเสียต่อตลาดโทรคมนาคมไทย ผู้บริโภค และสังคมโดยรวม จึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้บริโภคขึ้นในวันนี้
โดยการจัดประชุมในครั้งนี้ “วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานการประเมินผลตามนโย บาย กสทช. โดยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(Public Hearing) ในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้บริโภค เกี่ยวกับเงื่อนไข/มาตรการเพื่อการคุ้ม ครองผู้บริโภค ภายหลังการรวมธุรกิจระหว่าง ทรู และ ดีแทค ซึ่งกำหนดประเด็นสำคัญที่ต้องติด ตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบายของ กสทช. ที่สำคัญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ใน 4 เรื่อง หลัก ได้แก่ 1.การแก้ไขปัญหาแก๊งโทรศัพท์(Call Centre) และข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน 2.การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต(หรือ ที่เรียกว่า OTT) 3.เงื่อนไข/มาตรการเพื่อการคุ้ม ครองผู้บริโภค ภายหลังการรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเร ชั่น จำกัด(มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (หรือที่รู้จักในนาม ดีแทค) และ 4.การกำกับดูแลการโฆษณาแอบแฝงในกิจการโทร ทัศน์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
“อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าทุกข้อเสนอแนะ ทุกความเห็นได้จากการจัดประชุมรับฟังความเห็นในวันนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการ การรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายระบบโทรคมนาคมให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดแก่ผู้บริโภคตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้” นางสาวอารีวรรณ กล่าวในที่สุด.
Discussion about this post