
วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุ พนม จังหวัดนครพนม ดร.หม่อมหลวงสราลี กิติยากร พระขนิษฐาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ที่มูลนิธิผึ้งหลวงอัศวิน ร่วมกับจังหวัดนครพนม และคณะสงฆ์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-22 สิงหาคม 2566 ซึ่งเป็นการประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ 7 วัน 7 คืน ตลอด 24 ชั่วโมง รวม 168 ชั่วโมงต่อเนื่อง เพื่อเป็นการรวมใจของทุกฝ่ายในการแสดงความจงรักภักดี และร่วมบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระพรแด่พระองค์ท่าน ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า โดยหลอมรวมดวงใจ เจริญจิตตภาวนา และตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว โดยมีสมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย รองประธานกรรมการคณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 รองแม่กองธรรมสนามหลวง และเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหารเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีนายวันชัยจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนคร พนม ตลอดจนคณะหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนจังหวัดนครพนมร่วมประกอบพิธี
และในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าไตร จำนวน 2ไตร เชิญมาถวายแด่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ในพิธี ในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 (วันแรกของพิธี) และในวันที่ 22 สิงหา คม 2566 (วันสุดท้ายของพิธี ) โดยในวันนี้ ดร.หม่อมหลวงสราลี กิติยากร ประธานฝ่ายฆราวาส ได้เชิญไปถวายแด่สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี ประธานฝ่ายสงฆ์ 1 ไตร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระ องค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงประทาน ผ้าไตร จำนวน 2 ไตร ร่วมประกอบพิธี ในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 (วันแรกของพิธี) และในวันที่ 22 สิงหาคม 2566 (วันสุดท้ายของพิธี ) โดยในวันนี้ ดร.หม่อมหลวงสราลี กิติยากร ประธานฝ่ายฆราวาส ได้เชิญไปถวายแด่ พระธรรมวชิรโสภณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม วรมหา วิหาร 1 ไตร และคณะผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ศาล ทหาร ตำรวจ หัวหน้าส่วนราชการ ถวายผ้าไตร แด่พระสงฆ์ที่ร่วมเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตต ภาวนา รวมทั้งสิ้น 45 รูป
ทั้งนี้พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถือเป็นการปฏิบัติบูชาที่นอกจากจะเป็นพุทธานุสติแล้ว ยังช่วยในการป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เป็นการเสริมสิริมงคลชะตาชีวิตให้ยืนยาว โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศลังการาว พ.ศ. 500 ด้วยชาวลังกาที่นับถือพุทธศาสนาในขณะนั้น ประสงค์ให้พระสงฆ์ช่วยเหลือตนให้เกิดสิริมงคลและป้องกันภยันตรายต่างๆ ด้วยการสวดมนต์และคาถาตามแบบอย่างพราหมณ์ ซึ่งมีความเชื่อว่าผู้ทรงเวทจะทำให้เกิดสิริมงคล และป้องกันภยันตรายแก่มหาชนได้ และด้วยเหตุนี้พระสงฆ์ลังกา จึงได้คิดวิธีสวดพระปริตรขึ้น โดยเลือกเอาพระสูตรหรือคาถาที่สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย อันเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มาสวดเป็นมนต์ ครั้นคนนิยมมากขึ้น ก็ได้เพิ่มบทสวดเป็นพระปริตร ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินประเทศลังกาได้รับสั่งให้คณะสงฆ์ปรับ ปรุงพระสูตร และคาถาที่ใช้สวดพระปริตรขึ้นใหม่ให้เหมาะกับเหตุการณ์เพื่อใช้ในพระราชพิธีหลวง โดยได้เพิ่มพระสูตรและคาถาให้มากขึ้น เรียกว่าราชปริตร เป็นมนต์คุ้มครองพระเจ้าแผ่นดิน ประชาชนยิ่งนิยมมากขึ้นจึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยบทสวดจะประกอบไปด้วย มงคลสูตร ว่าด้วยเหตุที่จะทำให้เกิดสิริมงคล รัตนสูตร ว่าด้วยรัตนทั้ง 3 คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นการสวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดไป กรณียเมตตสูตร ว่าด้วยการเจริญเมตตาไปไหนมาไหนให้คนและเทวดารักใคร่ เมตตา ขันธปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์สำหรับป้องกันสัตว์ร้ายพวกอสรพิษ ธชัคคสูตร ว่าด้วยการเคารพธงและการรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยทำให้หายหวาดกลัว อาฏานาฏิยปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง และอังคุลิมาลปริตร ว่าด้วยมนต์ขององคุลีมาล.
Discussion about this post