
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ที่ ห้องราชาวดี ชั้น 3 เซอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง นายราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิด กิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชา ชน ครั้งที่ 1 การศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมอ่าวอ่าง อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประ เมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการ
พัฒนาการลงทุน (Business Development Mode!) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดา มัน (Landbridge) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และประชาชนชาวระนอง ทั้ง 5 อำเภอ เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ กิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยสำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร
โดย ดร.จิรโรจน์ ศุกลรัตน์ ผู้อำ นวยการสำนักส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจรในภูมิภาค กล่าวว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วน มีความเข้าใจในรายละเอียดและความเป็นมาของโครงการที่ตรงกัน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อนำเสนอรายละเอียดโครงการ ขอบเขตการศึกษาและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการ สำหรับนำไปประกอบกรศึกษาของโครงการให้มีความครบถ้วนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมทุกภาคส่วนมากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับร่วมกัน และ จะจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมอุทยานแห่งชาติแหลมสน ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง
จากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ ไทย ที่มีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองด้านจึงเป็นโอกาสที่ประเทศ ไทยจะได้ใช้ประโยชน์จากยุทธ ศาสตร์ดังกล่าวในการพัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเลเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามันเพิ่มเติมจากการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพทางการค้าของประเทศ ไทยกับกลุ่มประเทศด้นมหาสมุทรอินเดีย รองรับและส่งเสริมโครง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่สำคัญของประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึงเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาโครงการLandbridge เพื่อทำให้ประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผลิต และการคมนาคมขนส่งของเอเชียในอนาคต
กระทรวงคมนาคมจึงให้มีการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครง สร้างพื้นฐานต้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ท่าเรือ ถนน และรถไฟเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐ กิจภาคใต้ โดยในส่วนของทำเรือประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง คือ ท่าเรือฝั่ง ชุมพร ซึ่งมีพื้นที่โครงการตั้งเชื่อมโยงมหาสมุทรแปชิฟิกด้านฝั่งตะวันออกของไทย และทำเรือฝั่งระนองเชื่อมฝั่งมหาสมุทรอินเดียด้านฝั่งตะวันตกของไทย ดังนั้น สำนักงานนโย บายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคม จึงมีความประสงค์ที่จะพัฒนโครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ้ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ได้แก่ การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การขุดลอกและถมทะเล และการก่อสร้างพื้นที่ทำเรือ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่าง ๆ ในเขตพื้นที่พัฒนาท่าเรือให้เพียงพอ และมีความพร้อมในการรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ โครงข่ายและระบบการขนส่งต่อเนื่องที่จำเป็นในเขตพื้นที่ท่าเรือที่เชื่อมต่อกับภายนอก และรองรับการขนส่งสินค้าได้อย่างเพียงพอในอนาคต.
Discussion about this post