วันที่ 16 สิงหาคม 2566 ที่ อบต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร นายสมเจตน์ พิมพานนท์ นายอำเภอกุดบาก เป็นประธานเปิดกุดบากโมเดลแหล่งผลิตผักปลอดภัยแบบครบวงจร สร้างความมั่นคงทางอาหารมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม โดยอำเภอกุดบากและมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้ร่วมผสานพลังเครือข่ายความร่วมมือหนุนการทำงาน “กุดบากโมเดล แหล่งผลิตผักปลอดภัยแบบครบวงจร สร้างความมั่นคงทางอาหารมุ่งสู่ความยั่งยืน” ทั่งนี้ สืบเนื่องจากการทำงานวิจัยโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนในอำเภอกุดบากที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีกระบวน การทำงานแบบร่วมกันคิดและร่วมทำร่วมกับกลุ่มเป้าหมายและภาคีหลัก
ประกอบไปด้วย เทศบาลตำบลกุดบาก อบต.กุดไห ทต.นาม่อง และ ทต.กุดแฮด นอกจากนี้มีหน่วยงาน ตามภารกิจ เช่น เกษตรอำเภอ พัฒนาการอำเภอ สถานีพัฒนาที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ด้านภาควิชาการ ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร และ อำเภอกุดบาก เข้ามาร่วมหนุนเสริมและเพิ่มศักยภาพการทำงานของกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย “ลดความซ้ำซ้อน ร่วมด้วยช่วยกัน ยืดหยุ่นและปรับปรุงกระบวนการทำงานร่วมกัน”
ด้วยกลไกของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ นายอำเภอกุดบาก จึงได้การรับรองการผลิตผลิตภัณฑ์ การเกษตรในขอบข่ายการปฏิบัติที่ดีสำหรับพืชอาหาร (Good Agricultural Practices: GAP) มกษ. 9001-2564:การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหารซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่เกษตรกรสามารถดำเนินการได้จริงและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคผักปลอดภัย นอกจากจะได้บริโภคผักที่ดีมีคุณภาพแล้วยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือครัวเรือนยากจนในพื้นที่อีกด้วย ด้วยการทำงานของโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจน
นายทวีวัฒน์ ขันธุปัทม์ เกษตรอำเภอกุดบาก กล่าวว่า สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนครได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันและส่งเสริมเรื่องของผักแปลงรวม สารชีวพันธุ์ไตรโครโรม่าซึ่งเป็นการป้องกันและกำจัดโรคพืช พร้อมให้คำแนะนำเกษตกรอย่างใกล้ชิด นายสมเจตน์ พิมพานนท์ นายอำเภอกุดบาก กล่าววา กุดบากโมเดลเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดยการร่วมมือขององค์กรภาคีเครือเพื่อเข้าแก้ไข้ความยากจนตามพื้นที่ต่างๆ ปัจจุบันได้มีโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านยั่งยืน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เมื่อได้ดำเนิน กุดบากโมเดลเป็นโครงการที่สามรถเห็นชัดว่าแก้ไข้ความยากจนได้ซึ่งเป็นโครงการที่ดี โดยแยกออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีสมาชิก 15 คน ใน 5 คน เป็นผู้ต้องได้รับ ความช่วยเหลือ ส่วนอีก 10 คน เป็นผู้ทำแปลงผัก แล้วนำผลิตภัณฑ์ไปขาย ขณะนี้มีการมีสมชิกมากกว่า 18 กลุ่มแล้ว จนได้รับมาตราฐาน GAP ทั้งนี้หวังตีตลาด ให้ได้นำไปสู่กุดบากโมเดลผักปลอดภัย.
///////////////////// วัฒนะ แก้วก่า/สกลนคร 0819541528
Discussion about this post