วันที่ 16 สิงหาคม 2566 ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ นายพิชัยเลิศพงษ์อดิศร หรือ ส.ว.ก๊อง นายก อบจ.เชียงใหม่ เป็นประธานประชุมการดำเนินงานภายหลังรับมอบการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
(รพ.สต.) และเตรียมความพร้อมจัดเครือข่ายบริการด้านสาธารณสุข มี นพ.สุวิทย์วิบูลผลประเสริฐ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.) นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ประธานคณะอนุกรรมการ
บริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุข ผู้อำนวยการ รพ.สต. 62 แห่ง เข้าร่วม
นายพิชัย กล่าวว่า หลังถ่ายโอน รพ.สต.มาสังกัด อบจ. ชุดแรก ประสบความสำเร็จ สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมมากขึ้น ซึ่งมีบุคลากรโอนย้าย รวม 501 คน ซึ่ง อบจ.ได้สอบ
คัดเลือกแพทย์พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด เข้าบรรจุรับราชการ พร้อมจ้างเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานเพิ่ม ตามกรอบอัตรากำลัง รพ.สต.ขนาดเล็ก 7 คน ขนาดกลาง 12 คน ขนาดใหญ่ 14 คน ภายใต้งบประมาณปีละ 1,600 ล้านบาท ไม่รวมเงินอุดหนุนรายหัว จาก สป.สช. ที่ให้ รพ.สต.
บริหารจัดการเอง โดยเฉพาะ รพ.สต. ที่จัดตั้งเป็นหน่วยบริการทางการแพทย์หรือ CUP นำร่อง จำนวน 10 แห่ง เพื่อดูแลรักษาประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ในปี 66 มี รพ.สต.ถ่ายโอน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม ปีแล้ว จำนวน 62 แห่ง ในปี 67 ถ่ายโอนอีก 7 แห่ง รวม 69 แห่ง ส่วนปี 68ต้องแจ้งความประสงค์รับถ่ายโอน ภายในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ เชื่อว่ามี รพ.สต. ที่สมัครใจขอถ่ายโอนเพิ่มขึ้น 10-20 แห่ง
ซึ่ง อบจ.พร้อมรับถ่ายโอนทั้งหมด รวมทั้งมีแผนจัดซื้อที่ดิน เนื้อที่ 30-40 ไร่เพื่อสร้างโรงพยาบาล ที่ อ.ฝาง ด้วย
นพ.สุวิทย์ กล่าวว่า สป.สช. จะไม่เป็นอุปสรรค การถ่ายโอน รพ.สต.มายัง อบจ.ทั่วประเทศ พร้อมสนับสนุนจัดตั้ง CUPใน รพ.สต. ภายใต้ข้อบันทึกความตกลงความร่วมมือพัฒนาระบบสาธารณสุขหริอ MOU ระหว่าง อบจ. กับ รพ.สต. เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และงบประมาณ และเปิดช่องทางอำนวยความสะดวกการถ่ายโอนดังกล่าว ตามนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่ง
อบจ.เชียงใหม่ ถือเป็นต้นแบบ หรือโมเดล ถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ. 49จังหวัด จาก 76 จังหวัด รวมกว่า 4,000แห่งแล้ว ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด
“สป.สช. จะเป็นองค์กรประสานความร่วมมือ และบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับบริการสาธารณสุขสู่ประชาชน และใช้กลไกท้องถิ่นขับเคลื่อนบริการทางการแพทย์เพื่อแบ่งเบาภาระกระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่ต่างคนต่างทำ หรือแยกองค์กรบริการประชาชน มีเป้าหมายดูแลสุขภาพ
แบบถ้วนหน้า ส่วนงบดูแลรายหัว ต้องเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หรือตามข้อเท็จจริงเท่านั้น ส่วนปัญหาความขาดแคลน ไม่ใช่อุปสรรคการทำงานแต่
เป็นการฝึกภาวะผู้นำให้รู้จักการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยอาศัยความร่วมมือจากท้องถิ่น หรือชุมชน เป็นหลัก เชื่อว่าประสบความสำเร็จได้” นพ.สุวิทย์ กล่าว
ต่อมานายพิชัย ได้นำ นพ.สุวิทย์ และคณะ ได้ตรวจเยี่ยมชมและติดตามการให้บริการสาธารณสุข ที่ รพ.สต.บ้านหนองไคร้ อ.สันทราย ซึ่ง นพ.สุวิทย์
ได้กล่าวชื่มชมที่ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนแบบมาตรฐาน มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของประชาชนด้วย
/////////
Discussion about this post