
เมื่อวันที่ 26 ส.ค.66 ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร นายจีรวัฒน์ พราหมณี ปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบฯ รับมอบหมายจาก นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน เข้ารับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการประเมินรับรองเมืองสุขภาพดี (ระดับทอง) ภายใต้การจัดประชุมการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่เมืองสุขภาพดี ประจำปี 2566 โดยมี นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประ ธานเปิดการประชุมและมอบราง วัล และมี Dr.Jos Vandelaer ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย บรรยายพิเศษในหัวข้อ “เมืองสุขภาพดี Healthy City” จัดโดย กรมอนามัย กระ ทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่เมืองสุข ภาพดี ซึ่งเทศบาลเมืองหัวหินได้เข้ารับการประเมินเมืองสุขภาพดี ประกอบด้วย 3 ด้าน มี 23 ตัวชี้วัด คือ 1.ด้านสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพ Healthy Environments 2.ด้านสถานที่ที่เอื้อต่อสุขภาพ Healthy Settings และ 3.ด้านประชาชนรอบรู้และสุขภาพดี Healthy People
นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ กล่าวว่า กรมอนามัยได้ขับเคลื่อนภารกิจการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัย สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการเมืองสุขภาพดี โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อยกระดับสู่การเป็นเมืองสุขภาพดี ถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลคุ้มครองสุขภาพของประชาชนในระดับพื้นที่ มีความใกล้ชิดและเข้าใจถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นอย่างดี เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ มีมาตร ฐาน อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพ และได้รับการส่งเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) Healthy Environments: สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพ 2) Healthy Settings: สถานที่ที่เอื้อต่อสุขภาพ และ 3) Healthy People: ประชาชนรอบรู้และสุขภาพดี
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในปี 2566 กรมอนามัยได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ขับเคลื่อนดำเนินงานยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองสุขภาพดี จำนวนทั้งสิ้น 108 แห่ง โดยผ่านการประเมินรับรองเมืองสุขภาพดีระดับทอง จำนวน 14 แห่ง (ร้อยละ 12.96) ผ่านการประเมินรับรองเมืองสุขภาพดีระดับเงิน จำนวน 39 แห่ง (ร้อยละ 36.11) และผ่านการประเมินรับรองเมืองสุขภาพดีระดับทอง แดง จำนวน 55 แห่ง (ร้อยละ 50.93) จากการขับเคลื่อนโครง การดังกล่าว กรมอนามัยได้กำหนดเป้าหมายภายในปี 2570 ประเทศไทยจะมีเมืองสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน.
Discussion about this post