วันที่ 27 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สตูลหนุนการท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจชมธนาคารปูม้าสร้างสินค้าอาหารเมนูของฝากของจังหวัด รามสร้างอนุรักษ์ปูม้าไข่ปล่อยคืนลงสู่ท้องทะเล 5 ล้านตัว
โดยจังหวัดสตูลมีกลุ่มธนาคารปูม้าในจังหวัด ประมาณ 20 กว่าแห่ง ในพื้นที่ของอำเภอติดกับชายทะเลได้แก่อำเภอเมืองสตูล อำเภอท่าแพ อำเภอละงู และอำเภอทุ่งหว้า นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมผลักดันการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนและการเลี้ยงปูม้า ส่งเสริมหนุนการท่องเที่ยว จัดทริปท่องเที่ยวในชุมชนและให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สัตว์น้ำในท้องทะเล พร้อมกับจัดเวทีการเสวนาและการนำเสนอการดำเนินงานของธนาคารปูม้าระดับจังหวัดสตูล” ภายใต้โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งของธนาคารปูม้าจังหวัดสตูล ตามแนวทางการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG

โดยมี ผศ.ดร. ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ หัวหน้าโครงการ นายประพัตร์ แก้วมณี ผศ.สุภาพร เจริญ สุข ผศ.พาสนา เอกอุดมพงษ์ ผู้ร่วมโครงการ และนายประชิด ตรีพลอักษร ที่ปรึกษาโครงการ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ผศ.ดร. ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ กล่าวว่า โดยการเสวนาดังกล่าว ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการ ผลักดัน และขับเคลื่อนธนาคารปูม้าจังหวัดสตูล การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับธนาคารปูม้า รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปูม้า โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนธนาคารปูม้าจังหวัดสตูลให้มีความยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน รวมถึงบรรจุโครงการ/กิจกรรมของธนาคารปูม้าในแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2568 ทั้งนี้ขอขอบคุณทุกภาคส่วนในจังหวัดสตูลที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาฯดังกล่าว ได้แก่ ประมงจังหวัดสตูล ประมงอำเภอท่าแพ ศูนย์ วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสตูล พาณิชย์จังหวัดสตูล อุตสาหกรรมจังหวัดสตูล สำนักเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสตูล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสตูล หอการค้าจังหวัดสตูล ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดสตูล ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดสตูล กลุ่มชุมชนธนาคารปูม้า จังหวัดสตูล รวมถึงองค์กรภาคส่วนอื่น ได้แก่ องค์กรภาคประชาชน และองค์กรเอกชนไม่ค้ากำไร.
สำหรับปูม้าได้ทำรายได้ให้กับชาวบ้าน ชาวประมงเฉพาะการนำปูม้าโตเต็มวัยนำมาผลิตภัณฑ์เป็นเมนูอาหารเช่นน้ำพริกและขนมหลากหลายชนิดเช่นปอเปี๊ยะไส้ปูกะหรี่ผสมเห็ด น้ำพริกน้ำปลาหวานเนื้อปูม้า ที่ไม่ใส่ผงชูรส และทำปูหยองทรงเครื่องใส่เนื้อปูม้า น้ำพริกไข่ปูม้า น้ำพริกมันปู น้ำพริกปูที่ขายอยู่ในราคาที่ขวดละ 50 จนถึง 150 บาท สามารถที่ทำเป็นของฝากหากนักท่องเที่ยวเดินทางในกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชน และจากการสอบถามการต่อยอด เรื่องปูม้านำมาประกอบเป็นนำพริกบรรจุใส่ผลิตภัณฑ์โหลแก้ว ฉลากสวยงาม และผ่านมาตรฐานของจังหวัดสตูล ส่งขายไปถึงเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย จนชุมชนหมู่บ้านการท่องเที่ยวที่ร่วมในโครงการมีรายได้ ตกเดือนละ 10,000 ถึง 20, 000 บาท และเรายังต่อยอดให้จัดเป็นทริปการท่องเที่ยวล่องเรือปล่อยลูกปูม้า สร้างการอนุรักษ์ไปจนสู่การท่องเที่ยววิถีชีวิตในพื้นที่ชายฝั่ง
ทั้งนี้นายประชิด ตรีพลอักษร ตำแหน่งนักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ สำนักงานประมง จ.สตูล กล่าวว่า ทรัพยากรทางทะเลในความอุดมสมบูรณ์ของปูม้าจัดว่าดีเยี่ยม และชาวประมงพื้นบ้านนอกจากจับปูม้าแล้ว ยังได้ร่วมกันอนุรักษ์ อย่างโครงการนี้ที่เน้นสร้างงาน สร้างรายได้จากปูม้า และยังช่วยกันฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าให้มีปูม้าคืนสู่ธรรมชาติ.
สโรชา ยกชม / สตูล
Discussion about this post