วันที่ 28 ส.ค.66 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมศรีจันทร์ 2 โรงแรมเจริญธานีขอนแก่น พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุข ภาพจิต ได้มอบหมายให้ นพ. ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานักสื่อสารสร้างสุขในปฏิบัติการต่อความหวังสร้างพลังใจ(HOPE Task Force) เขตสุขภาพที่ 7, 8, 9 และ 10 ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี พญ. กนกวรรณ กิตติวัฒนากูล รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจบริการจิตเวชและสุขภาพจิต โรงพยา บาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์จังหวัด สื่อมวลชน ผู้ปฏิบัติงานทีม Mcatt ผู้รับผิดชอบงานป้องกันการฆ่าตัวตายระดับจังหวัด โรงพยาบาลจิตเวช ศูนย์สุขภาพจิตในเขตสุขภาพที่ 7, 8, 9 และ 10 บุคลากรจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และตำรวจ จาก 20 จังหวัดในภาคอีสาน จำนวน 160 คน เข้าร่วมประชุม

นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เปิดเผยว่า กรมสุขภาพจิต ร่วมกับสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดยโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานักสื่อสารสร้างสุขในปฏิบัติการต่อความหวังสร้างพลังใจ(HOPE Task Force) ขึ้น ด้วยปัจจุบันเป็นยุคที่มีการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ผู้ส่งสาร หรือสื่อมวลชนส่วนใหญ่นำเสนอข้อมูลด้านสุขภาพจิตในแง่มุมที่เป็นปัญหา ยังขาดกระบวน การสร้างสรรค์สารและข้อมูลที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจถึงเรื่องของการสื่อสารสุขภาพจิต ให้เป็นเรื่องของการสื่อสารเพื่อการสร้างความสุข หรือการสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหาและนำไปสู่กระบวนการสร้างสังคมที่มีพลเมืองที่มีสุขภาพจิตที่เพียงพอ โดยการประยุกต์บริบทความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมและโลกเข้าไปกับการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ในวงกว้าง ด้วยกลไกการพัฒนาผู้นำนักสื่อสารเพื่อผลิตสารสร้างสุข
“โครงการนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างระบบนิเวศสุขภาพจิตแบบยั่งยืน เพื่อเพิ่มสุขภาพจิตที่ดี และลดปัญหาโรคทางจิต ซึ่งผู้ที่สามารถขับเคลื่อนแนวคิดและระบบนิเวศนี้ได้ในวงกว้าง คือ ผู้ที่ทำงานด้านการสื่อสารและผู้ที่มีผู้ติดตามในสังคมเป็นจำนวนมาก การพัฒนาผู้นำการขับเคลื่อนด้านสุขภาพจิตจากภาคสื่อสารประชา สัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศสุขภาพจิตแบบยั่งยืนในโครงการนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญแรกในการนำประเทศไทยไปสู่การมีสุขภาพจิตแบบยั่งยืนต่อไป”.
Discussion about this post