
ผู้สื่อข่าวรายงานวันที่ 11 ก.ย. 66 มาดูสีสันขบวนพาเหรดที่ ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ยิ่งใหญ่สมคำร่ำลือ โดยพันจ่าเอก มาหามุ หวังจิ นายกเทศมนตรีตำบลบ่อทอง ได้จัดกิจกรรมกวนอาซูรอประจำปี 2566 ซึ่งงานนี้อย่างที่เขาว่าสโลแกนของนายก คืองานเล็กๆไม่ งานใหญ่ต้องทำเพื่อความสุขของประชาชน มาเริ่มขบวนพาเหรดที่ยาวกว่า1 กม. โดยชาวบ้านหลายชุมชนในตำบลบ่อทองได้ออกมาร่วมเดินพาเหรดกันอย่างคึกคัด ซึ่งสีสันภายในขบวนก็มีความหลากหลาย และแปลกตา ทำให้คนดูริมทางถึงกับอึ้งเลย เพราะงานนี้เล่นใหญ่จริงๆ โดยเฉพาะขบวนแรกๆ เป็นขนวนรถม้า ที่เอาม้าจริงๆมาร่วมเดิน แต่ที่ให้ความสนใจคือคนซ้อนรถม้า เป็นหล่าวบรรดา สส. นายกเทศมนตรี พร้อมภรรยา แต่งตัวแฟนซี ที่หาชมได้ยาก ในชุดชาววังของคนมาลายูโบราน คือ ชุดบานง และผ้าซอแกะ ดูแล้วแล้วสะเหมือนกับว่าย้อนยุคไปสมันก็เลยก็ว่าได้
มาต่อที่ขบวนต่อไป ด้วยตำบลบ่อทองอยู่ติดกับสนามบินบ่อทอง งานนี้ไม่มีพลาดคือนำเครื่องบินจำลองมาร่วมพาเหรด ที่ออกแบบอย่างอลังการงานสร้าง โดยเฉพาะมี1 ลำ เครื่องบินการบิน ไทยจำลอง แต่พอดูเครื่องเท่านั้นแหละ ถึงกับต้องอุทานออกมามาว่า “โอ้โห..ทำไปได้” เพราะพี่แกเล่นเอารถจักรยานยนต์มาทำเป็นเครื่องยนต์ พอสตาร์รถเท่านั้นแหละ คนดูก็อดขำไม่ได้ ตกลงว่านี่มันเสียงเครื่องยนต์ของเครื่องบินใช่ไหม? คนดูริมทางก็อดขำไม่ได้จริงๆ
ยังไม่เท่านี้ จู่ๆก็มีรถไถ่นาที่ประดิฐขึ้นเอง พร้อมคนขับตัวใหญ่ที่แต่งตัวแปลกๆ ไม่เหมือนคนทำนา คนดูสงสัย ว่าพี่หลงมาอยู่ในกลุ่มของขบวนเครื่องบินได้อย่างไร “อันนี้มันขบวนเครื่องบินนะพี่ ไม่ใช่ขบวนชาวนา”
มาต่อด้วยขบวนสัตว์ลำลอง ที่ชาวบ้านทำขึ้น มีทั้งวัว ไก่ตัวใหญ่ที่บอกได้เลยว่าสามารถกินได้ทั้งหมู่บ้าน และอูฐ ได้เดินขบวนมาพร้อมกัน แต่พอถึงท้ายขบวนคนดูตกใจ เพราะพี่เขานำลูกแพะตัวเป็นๆ2ตัวมาร่วมเดินพาเหรดด้วย ซึ่งเยาวชนกลุ่มนี้บอกว่า สัตว์ปลอมดูไม่สมจริง ที่นี่ พอเอาลูกแพะมาร่วมเดินก็ทำเอาลำบากตลอดทาง เพราะลูกแพะดิ้นไปดิ้นมาไม่หยุด และร้องเสียงดังลั่น ไม่รู้ว่าลูกแพะตกใจตากล้องหรือว่าคน ถ้าลูกแพะพูดได้คงพูดออกไปแล้วว่า “ฉันมาทำอะไรที่นี่…..”
ผู้สื่อข่าวรางานอีกว่า ภาหลังเสร็จสิ้นขวนพาเหรด ทุกคนก็มาร่วมมือร่วมใจกันกวนอาซูรอ หรือขนมอาซูรอ ซึ่งเป็นประเพณีของพี่น้องมุสลิมที่ทำขึ้นทุกปี และขนมนี้หาทานได้ปีละครั้ง ไม่มีขาย โดยมีเครื่องปรุงขนมที่ใช้ได้แก่ เครื่องแกง หัวหอม ข้าวสาร เกลือ น้ำ ตาลทราย น้ำตาลปี๊บ กะทิ มัน กล้วย ข้าวโพด ถั่ว เนื้อสัตว์ นำมาผสมและกวนจนสุก โดยเวลาประมาน7 ชม. เมื่อขนมสุกแล้วก็จะนำไปแจกจ่ายให้กับคนในหมู่บ้านเท่าๆกัน โดย1 กระทะสามารถทานได้ประมาน100 คน
อย่างไรก็ตามการจัดงานครั้งนี้ เพื่อให้ชาวบ้านออกมามีส่วนร่วมของคนในชุมชน เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และสร้างความสามัคคีกันภายในชุมชน เพื่อความสุข ความสงบสุขต่อไป.
Discussion about this post