
รายการดังกล่าว จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเป็นการรวมตัวกันของนวัตกรผู้สร้างนวัตกรรม เเละ นักประดิษฐ์จากที่ต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ปีนี้มีประเทศต่างๆทั่วโลกเข้าร่วม 32 ประเทศ
โลกในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ทุกกระเเสตื่นตัวกันทั่วโลก ล้วนเเล้วเเต่ให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้และนวัตกรรม เป็นปัจจัยในการพัฒนาประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่ได้ส่งเสริมเยาวชนทางด้านนี้ทั้จากภาครัฐเเละเอกชน
ทีมเยาวชนไทย ทั้งหมดที่เข้าร่วมสร้างเเรงบันดาลใจเเละหาประสบการณ์ทุกๆทีม ล้วนเเล้วเเต่เริ่มต้นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นนวัตกรรมพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นสูง เพื่อเข้าร่วมประกวดในลักษณะทีม รวมครู เเละ นักเรียน มาร่วมกันนำเสนอชิ้นงาน โดยการสื่อสารผ่านการสาธิตในระบบต่างๆ (มีการส่งรูปเล่มไปให้คณะกรามการก่อนงาน) พร้อมบรรรยายให้คณะกรรมการจากประเทศต่างๆ ตัดสิน เเละในปีนี้ มีโรงเรียนเข้าร่วมภายใต้การประสานงานจากชมรมวิทยาการหุ่นยนต์เเห่งประเทศไทย เเละ ชมรมครูหุ่นยนต์ไทย ที่ผ่านการคัดเลือก รวม 4 สถาบัน ได้เเก่
โรงเรียนปรินส์รอยเเยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่งผลงาน Headband – Helpband สำหรับช่วยคนตาบอด ได้รับรางวัลเหรียญทอง

โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร A ผลงาน Teaching Material Proposition Connectors
ได้รับรางวัลเหรียญทอง เเละ รางวัลการยกย่องพิเศษผลงานคุณภาพจากคณะกรรมการรัสเซีย เพียง 1 เดียวจากทุกผลงานของนักประดิษฐ์ไทย
โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร B ผลงาน IOT Thermo Guard ได้รับรางวัลเหรียญทอง
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ห้องเรียนพิเศษเเผนการเรียนสะเต็ม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งผลงาน Plankton-Affected water quality measurement ตัววัดคุณภาพน้ำ เเละปริมาณเเพลงต้อนในน้ำทะเลได้รับรางวัลเหรียญเงิน
โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาการคอมพิวเตอร์
ผลงาน Smart Farm System&Fogging Cooling System : ฟาร์มอัจฉริยะ โด้รับรางวัลเหรียญเงิน
Discussion about this post