
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง สนามบินนครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะที่ปรึกษา คณะทำงานเข้าตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีนายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นายวีรวัฒน์ อังศุพาณิชย์ รองอธิบดีกรมฝนหวงและการบินเกษตร นางชุติมา เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ และผู้แทน กรมชลประทาน ส่วนราชการจ.นครสวรรค์ ร่วมต้อนรับและรายงานสถานการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญ
ผู้แทนกรมชลประทานรายงานยืนยันปัญหาปริมาณน้ำต้นทุนทั่วประเทศขณะนี้ เหลือไม่ถึงร้อยละ 50 โดยเฉพาะในพื้นที่เขื่อนภาคกลาง ประกอบด้วย เขื่อนสิริกิต์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนภูมิพล และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บที่ใช้การได้เพียงร้อยละ 27 ซึ่งจะเกิดผบกระทบในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแน่นอนในช่วงฤดูแล้ง เพราะปีนี้ประเทศไทย กำลังประ สบปัญหาเอลนิโญ อีกทั้งพบว่าปริมาณอ่างเก็บน้ำสำคัญ 27 อ่างก็มีน้ำในอ่างไม่ถึง 100 ล้าน ลบ.ม.การเติมน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเตรียมน้ำเพื่อสำรองไว้ใช้
จากนั้น นายไชยา พรหมา รัฐมน ตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งการทำฝนหลวงครั้งนี้ มีหน่วยปฏิบัติการร่วมกัน 3 หน่วย ประกอบด้วยหน่วยจาก จ.กาญ จนบุรี จ.ลพบุรี และ จ.นครราช สีมา แผนการบิน วันนี้เนื่องจากเป็นลมฝ่ายใต้ ภารกิจเริ่มต้นเวลา 09.30 น.จาก หน่วยการบินเกษตร จ.นครราชสีมา จะขึ้นบิน ก่อเมฆ ใช้ เครื่องบิน CN จำนวน 1 ลำ ดำเนินภารกิจ จากนั้นเวลา 10.30 น. หน่วย จ.ลพบุรี จะใช้เครื่องบิน CASA จำนวน 2 ลำ ทำการบินเพื่อเลี้ยงให้เมฆอ้วน เมื่อปฏิบัติการเรียบร้อย เครื่องบิน CARAVAN อีกจำนวน 2 ลำ จะขึ้นเลี้ยงเมฆให้อ้วนเพิ่มปริมาณน้ำในก้อนเมฆให้ได้มากที่สุดจากนั้น ขั้นตอนที่ 3 จะใช้เครื่องบิน SKA จำนวน 1 ลำ บินมาจาก จ.นครราชสีมา ทำการบินโจมตีเพื่อทำฝน ให้ตกลงในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปฏิบัติการทำฝนหลวง มีช่วงเวลาที่จำเป็นในการเติมน้ำ บางครั้งถูกต่อว่าเพราะประชาชนมองว่ามีฝนตก แต่ข้อเท็จจริง ฝนที่ตกลงมาไม่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนจนทำให้เกิดปัญหาวิกฤตในช่วงฤดูแล้ง อีกทั้ง การคาดการณ์ต่อปรากฏการณ์เอลนิโญ่จะทำให้ทั่วประเทศเกิดความแห้งแล้ง การเติมน้ำจึงจำเป็นที่จะต้องเติมให้เพียงพอ จึงได้ทำการสนับสนุนภาระกิจนี้ภายใต้ยุทธการ “การเติมน้ำแบบเต็มอิ่ม” ให้กับเขื่อนสำคัญทั่วประเทศ
“ขณะนี้เพื่อเตรียมการรับมือกับภัยแล้ง “เอลนิโญ” ตนได้รายงาน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับภาระกิจ เพื่อดึงเอา กรมฝนหลวงและการบินเกษร เข้าไปร่วมเป็นองคาพยพในการสู้วิกฤตภัยแล้ง ทั้งนี้จะขอสนับสนุนงบประมาณให้กับกรมฝนหลวงฯ เนื่องจากเครื่องบินฝนหลวงที่ใช้ในการทำเมฆเย็นที่ระดับความสูงเกินหมื่นฟุตขึ้นไป คือเครื่องบิน SKA ซึ่งปัจจุบัน มีเพียง 3 ลำที่สามารถบินทำฝนได้สูงเกินหมื่นฟุต ที่จะไม่เพียงพอกับการพัฒนาเสริมศักยภาพในด้านต่างๆ ทั้งเครื่องมือและบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมในทุกภาระกิจ จึงจำ เป็นที่ต้องมีเครื่องบินที่มีประสิทธิ ภาพในการทำงาน เพราะในภาคอีสานทำได้เพียงความเชื่อ ไม่มีฝนก็แห่นางแมว จุดบั้งไฟ แต่กรมฝนหลวงคือศาสตร์พระราชาที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก กรมชล ประทานมีหน้าที่เก็บน้ำ แต่ฝนหลวงคือกรมฯที่หาน้ำมาเติมในเขื่อน” นายไชยา กล่าวฯ
สำหรับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีอำนาจหน้าที่ฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการฝนหลวงและการบินเกษตรทั้งระบบ โดยการทำฝน บริหาร จัดการน้าในชั้นบรรยากาศ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการของ ประเทศ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนและการดัดแปรสภาพอากาศ โดยดำเนินงานตามภารกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่1. การบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่การเกษตร 2. การเติมน้ำต้นทุนให้กับพื้นที่กักเก็บน้ำทั่วประเทศ 3. การบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า4. การยับยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บ ปัจจุบันมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง 7 ศูนย์ปฏิบัติการทั่วประเทศ ครอบคลุม 77 จังหวัด เพื่อบริการประชาชนในการขอรับบริการฝนหลวง และ มีการประ สานความร่วมมือกับอาสาสมัครฝนหลวง ซึ่งเป็นตัวแทนเกษตรกรและประชาชน ในแต่ละพื้นที่ เป็นผู้ให้ข้อมูลความต้องการน้ำและสภาพอากาศ การศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพและโอกาสในการทำฝนให้มากขึ้น โดยน้อมนำศาสตร์ฝนหลวง พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชา ชน
ในด้านอากาศยาน กรมฯ มีอากาศ ยาน จำนวนทั้งสิ้น 40 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบิน 32 ลำ เฮลิคอป เตอร์ 8 ลำ สำหรับสนับสนุนภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวงและบริการด้านการบินและตั้งแต่เริ่มตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในปี 2566 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 25 กันยายน 2566 มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 175 วัน 3,795 เที่ยวบิน มีรายงานฝนตก 67 จังหวัด มีพื้นที่ได้รับประ โยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 191.38 ล้านไร่ มีฝนตกในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้า 266 แห่ง (เขื่อนขนาดใหญ่ 34 แห่ง เขื่อนขนาดกลางและขนาดเล็ก 232 แห่ง) ปริมาณน้ำสะสม 523.29 ล้าน ลบ.ม.
Discussion about this post