
วันนี้ (29 ก.ย.66) ผู้สื่อข่าวราย งาน ที่ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยฯ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงนามบันทึกความเข้าใจการร่วมมือทางวิชาการ (MOA) ระหว่าง มหาวิท ยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท ไอบีซี พาวเวอร์ จำกัด เรื่องความร่วมมือพัฒนาด้านการปลูกพืชอาหารสัตว์ และแปรรูปอาหารสัตว์ เพื่อส่งเสริมห่วงโซ่ปศุสัตว์แบบครบวงจรในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้“ โดยมี อาจารย์ ดร.สุรเดช สุวรรณชาตรี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร กิจการสภาและกฎหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานกล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและกิจการพิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานินทร์ คงศิลา รองอธิการ บดีฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหา วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายสยาม เขียวสัมฤทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไอบีซี พาวเวอร์ จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรจากคณะวิทยศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร และคณะจากมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายเเดนภาคใต้ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางความร่วมมือส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ รองอธิการ บดีฝ่ายพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและกิจการพิเศษ กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการทำความเข้าใจการร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาด้านการปลูกพืชอาหารสัตว์และแปรรูปอาหารสัตว์ เพื่อให้สอดคล้องกับนโย บายของภาครัฐ และให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งการส่งเสริมห่วงโซ่ปศุสัตว์แบบครบวงจรในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และพัฒนาศักยภาพ ผู้เรียนและสถานศึกษาทั้งด้านวิชาการ งานวิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาขีดความสามารถด้านวิชาชีพ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งร่วมส่งเสริมศักยภาพสถานศึกษาเครือข่ายให้ตอบโจทย์ผู้เรียน
มหาวิทยาลัยฯ เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการศึกษา โดยสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นก้าวแรกของการพัฒนาร่วมกันที่จะให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่อไปในอนาคต.
Discussion about this post