วันที่ 29 กันยายน 2566 ที่โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ดร.จินตนันท์ชญาตร์ ศุภมิตร กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านกิจการโทรทัศน์คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทร
ทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นประธานเปิดประชุมเพื้อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Pubic Hearing)ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ตามโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. ปี2566 ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (มศว.) มี รศ.ดร.ณักษ์ กุลิสร์ หัวหน้าโครงการฯ พร้อมผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ ประชาชน สื่อมวลชนและเครือข่ายองค์กร เข้าร่วมกว่า 150 คน

ดร.จินตนันท์ กล่าวว่า ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนในภาคเหนือ เพื่อก่อให้เกิดการผลักดันเชิงนโยบายอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานของ กสทช. ในอนาคต ซึ่ง กตป. เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนให้เห็นถึง ประชาชนทั่วไป ผู้ผลิต และผู้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ว่า คิดเห็นต่อการทำงานของ กสทช. อย่างไร รวมถึงข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขที่จะนำไปสู่การทำหน้าที่ของ กสทช. ซึ่งเป็นความท้าทาย ในความรับผิดชอบที่จะกำกับดูแลส่งเสริมและสนับสนุนให้กิจการ โทรทัศน์นั้นพัฒนาไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน จนเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน โดยให้ มศว.เป็นผู้รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และประเมินดังกล่าว
“การรับฟังความคิดเห็น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสัญญาณโทรทัศน์ ทั้งระบบดิจิตอล ดาวเทียมแซทเทอร์ไรท์ และเคเบิ้ลทีวี ที่ให้บริการว่าครอบคลุมพื้นที่หรือไม่ บางพื้นที่อยู่ห่างไกลสัญญาณภาพและเสียงไม่ชัดเจน หรือบางช่วงเป็นจอดำ อาจต้องเพิ่มสถานีรับส่งสัญญาณให้ครอบคลุมมากขึ้น ต้องใช้งบลงทุนจำนวนมาก ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ หรือรับชมผ่านระบบดาวเทียม 60 % แซทเทอร์ไรท์18-20 % ส่วนเคเบิ้ลทีวี มีผู้รับชมเพียง 2%เท่านั้น ซึ่งต้องปรับปรุงระบบสัญญาน และขยายบริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่” ดร.จินต
นันท์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ตามนโยบายนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางไปขอความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทาง กสทช. มีนโยบายตอบสนองอย่างไร ดร.จินตนันท์ กล่าวว่า ส่วนมากเป็นหน้าที่ของตำรวจไซเบอร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการ แต่ กสทช.มีหน้าที่ตัด หรือระงับสัญญาณระบบสื่อสารของแก๊งดังกล่าวได้ทันที ซึ่งสามารถทำได้เป็นรายไป ไม่สามารถตัดสัญญาณได้ทั้งหมด เพราะกระทบผู้ใช้บริการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่ง กสทช. พร้อมตอบสนองนโยบายรัฐบาลภายใต้ระเบียบกฏหมายไทยและกฏหมายระหว่างประเทศด้วย
รศ.ดร.ณักษ์ กล่าวว่า “ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ เราได้ใช้หลักการกำกับดูแล และหลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางในการติดตามและประเมินผล พิจารณากรอบการประเมินจากอำนาจหน้าที่ ของ กสทช. สำนักงาน กสทช. เลขาธิการ กสทช. แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ภายใต้ ขอบเขตที่ต้องประเมิน กสทช. ตาม ม.72 คือ รวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. เลขาธิการ กสทช.ที่มีความสอดคล้องต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ชาติ รายงาน การตรวจสอบภายในและรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อสังเกตจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของ กสทช.รวมถึงเรื่อง อื่น ๆ ที่สมควรรายงานให้ กสทช. รัฐสภา หรือ ประชาชนได้รับทราบต่อไป
Discussion about this post