เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2566 ที่ อาคารเอนกประสงค์ สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยภูมิ นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายคุณากร ปรีชาชนะชัย เลขานุการฯ ส.ส.โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย เขต 1,ส.ส. เชิงชาย ชาลีรินทร์ เขต 2,ส.ส. ศิวะ พงษ์ธีระดุลย์ เขต 5 พรรคเพื่อไทย ,อดีต ส.ส. พรเพ็ญ บูรณศิริวัฒนกุลพร้อมคณะที่ปรึกษา และผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมรองอธิบดีฯ ในสังกัดกระ ทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเปิดงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบประชาชน มีนายสมบัติ ไตรศักดิ์ รอง ผวจ.ชัยภูมิ น.ส.อรอาภา โล่ห์วีระ รอง ผวจ.ชัยภูมิ พร้อมข้าราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การต้อนรับ
ภายในงานได้มอบนโยบายและมอบปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร และเยี่ยมบูทส่วนราชการ จากนั้นได้ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพพร้อมเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วม บ้านเสี้ยวน้อย ต.บ้านค่าย อ.เมือง และ บ้านท่าศาลา ต.ระหาร อ.จัตุรัส ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากภาวะน้ำเอ่อล้นจากลำน้ำชี
นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัย และตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ พร้อมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ว่า ภายใต้นโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ของนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน จะช่วยให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น จากการมุ่งมั่นผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ อย่างการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายในพื้นที่ห้างสรรพสินค้า หรือส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งอาจสร้างรายได้กว่า 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้แนะนำให้เกษตรกรใช้นวัตกรรมในการทำการเกษตร เพื่อให้มีผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ โดยสามารถขอรับคำแนะนำได้ที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ รวมถึงมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาว
“ในเรื่องปราบปรามสินค้าเกษตรเถื่อน โดยเฉพาะเนื้อเถื่อนทุกชนิดยืนยันว่ากระทรวงเกษตรฯ ที่ตนดูแลกรมปศุสัตว์ จะปราบปรามอย่างจริงจัง ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้กลไกตลาดเกษตรกรรายย่อยกลุ่มผู้เลี้ยงหมู วัว ควาย สามารถที่จะจำหน่ายเนื้อที่มีกำไร และผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อที่มีคุณภาพ เพราะเนื้อเถื่อนได้ทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพียงเดือนเศษ ที่ตนได้สั่งการให้ปราบปรามอย่างจริงจัง ผลการจับกุม มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท การตรวจห้องเย็นปูพรมทั่วประเทศจึงเป็นวิธีการป้องปรามและปราบปรามควบคู่ จึงขอให้พี่น้องประชาชนและพี่น้องเกษตรกรแจ้งเบาะแสสินค้าเกษตรเถื่อน เพื่อรักษากลไกตลาดที่จะทำให้การค้าภายในประเทศเติบโตยิ่งขึ้น” นายไชยา กล่าวฯ
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมปี 2566 จนถึง12 ต.ค.66
จ.ชัยภูมิ มีพื้นที่ประสบภัยใน 9 อำเภอ 53 ตำบล 507 หมู่บ้าน 27,626 ครัวเรือน ประกอบด้วย อ.เมืองชัยภูมิ อ.บ้านเขว้า อ.คอนสวรรค์ อ.หนองบัวแดง อ.จัตุรัส อ.หนองบัวระเหว อ.คอนสาร อ.ภักดีชุมพล และ อ.เนินสง่า พื้นที่เพาะปลูก 8 แสนกว่าไร่ มีพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม เป็นไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง นาข้าว พืชผักสวนครัวต่าง ๆ ถูกน้ำท่วมประมาณ 341,337 ไร่ คาดว่ามีพื้นที่เสียหาย 268,700 ไร่ วงเงินให้ความช่วยเหลือคามหลักเกณฑ์ความเสียหายกว่า 468,605,838 บาท.
Discussion about this post