
วันนี้ 17 ต.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวชไมพร อำไพจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ปักดำข้าวสรรพสี โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน” จังหวัดชัยนาท เป็นตัวอักษร “ตามรอยพ่อหลวง” ณ ศูนย์การเรียนรู้ตามรอยพ่อหลวง หมู่ที่ 3 ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ พัฒนาการจังหวัดชัยนาท ประธานหอการค้าจังหวัดชัยนาท ประธานกรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีชัยนาท (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ประธานเครือข่ายOTOP จังหวัดชัยนาท ประธานสมาพันธ์SME ไทยจังหวัดชัยนาท ประธานเครือข่ายYoung Smart Farmer ชัยนาท ประธาน Biz Club จังหวัดชัยนาท ประธาน YEC จังหวัดชัยนาท และเครือข่ายโคก หนอง นา ร่วมกิจกรรมปักดำข้าวสรรพสีฯ
โดย นายไตรศักดิ์ ปัทมรัฐจิรนนท์ ประธานศูนย์เรียนรู้ตามรอยพ่อ กล่าวว่า ด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าจังหวัดชัยนาท กับพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท และศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทย าลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ได้จัดโครงการปลูกข้าวสรรพสีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็น 1 ใน 10 แปลงทั่วประเทศที่ได้รับการคัดเลือกจาก ม.เกษตรศาสตร์กำแพงแสน โดยให้ปลูกข้าวสรรพสีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ให้คนมาถ่ายรูปเป็นจุดเช็คอินจังหวัดชัยนาท การดำเนินงานครั้งนี้เป็นการน้อมนำพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาดำเนินการในแปลงนี้จึงใช้อักษรคำว่า “ตามรอยพ่อหลวง” สำหรับแนวคิดในการดำนาแปลอักษร คำว่า ตามรอยพ่อหลวง ก็อยากให้ประชาชนทั่วไปได้ระลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะว่าเรื่องของการเกษตรหลายๆอย่าง ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นผู้คิด เป็นผู้ทำ เพื่อเป็นแนวทางให้ประชาชนคนไทยมีกินมีใช้ โดยพื้นที่ภายในศูนย์เรียนรู้ตามรอยพ่อหลวง ทั้งหมด 36 ไร่ ทำนาข้าวสรรพสี 3 ไร่ครึ่ง ข้าวหอมมะลิแดง 5 ไร่ และส่วนที่เหลือปลูกส้มโอขาวแตงกวา และส่วนผสมอื่นๆ และทางศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินโครงการสร้างศิลปะบน ผืนนาด้วยข้าวสรรพสี ปีที่ 1 และได้คัดเลือกแปลงนาที่มีความสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์สามารถต่อยอดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสร้างรายได้จาก soft power ได้ และคัดเลือกแปลงนาของผมเป็นต้นแบบของจังหวัดชัยนาท ข้าวสรรพสี เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์พ่อ “ข้าวเจ้าหอมนิล พันธุ์ข้าวใบขาว” กับพันธุ์แม่ “ข้าวก่ำหอมนิล” จนเกิดเป็น “ข้าวสรรพสี” สารสกัดจากสารต้านอนุมูลอิสระในใบข้าวสรรพสี มีผลช่วยให้ชะลอการเสื่อมของจอรับภาพในระดับเซลล์ของมนุษย์ และกำลังมีการศึกษาวิจัย ประยุกต์นำมาใช้ในการชะลอการเสื่อมของจอรับภาพที่มักเกิดในผู้สูงวัย ในเด็กและกลุ่มคนที่ใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน.
วรชล ฟักขาว ภาพ/ข่าว จ.ชัยนาท
Discussion about this post